วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2551

“พิภพ”หนุนการเมืองใหม่สร้าง ศก.พอเพียง-พึ่งตนเอง








คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายพิภพ ธงไชย ปราศรัย





“พิภพ”หนุนการเมืองใหม่สร้างระบบเศรษฐกิจพึ่งตัวเอง ลดการผูกขาดของทุนขนาดยักษ์ ทำเกษตรผสมผสาน พออยู่พอกิน เป็นมิตรกับธรรมชาติ กลับคือสู่รากเหง้าดั้งเดิมที่ถูกทำลายจากนโยบายรัฐยุค “ทักษิณ” แฉบอนไซสหกรณ์ออมทรัพย์ จนความหวังจะเป็นธนาคารท้องถิ่นต้องพังทลาย

เวลาประมาณ 22.10 น. วันที่ 16 ก.ย. นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวบนเวทีปราศรัย บริเวณทำเนียบรัฐบาลว่า วันนี้ตนรู้สึกแปลกใจที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ซึ่งเคยทำธุรกิจอยู่ในระบบทุนนิยมมาโดยตลอด กลับมีแนวคิดใหม่ อยากจะนำเมืองไทยกลับไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตะวันออก นั่นคือ การพึ่งพิงธรรมชาติ ทำลายธรรมชาติน้อยที่สุด และทำเศรษฐกิจแบบเล็ก ๆ เพื่อให้ประชาชนในทุกภาคส่วนสามารถทำธุรกิจได้เอง และสามารถพึ่งพาตัวเองได้

ทั้งนี้แนวคิดดังกล่าวของนายสนธิ ตรงกับความคิดของตนเป็นอย่างยิ่ง เพราะตนหวังมานานว่าต้องการเปลี่ยนแปลงให้ระบบของประเทศเรา กลับไปเป็นการลงทุนแบบตะวันออก แทนที่จะคิดแต่เลียนแบบระบบทุนนิยมของประเทศตะวันตก อย่างที่อดีตรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลชุดนี้กำลังดำเนินอยู่ เพราะทุกวันนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ที่คิดแต่จะลงทุนแบบใหญ่ ๆ ใช้งบประมาณมหาศาลนั้น เมื่อเกิดการล้มแล้ว ก็จะล้มระเนระนาดไปจนหมด เช่นเดียวกับ วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง

ตัวอย่างเช่น ห้างค้าปลีกอย่างเทสโก โลตัส ที่เป็นห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ของต่างชาติ เมื่อเข้ามาในประเทศไทยแล้ว ก็ทำให้ร้านโชห่วยเล็กๆ ล้มหายไปจนหมด ทำให้ห้างเทสโก สามารถเป็นผู้สั่งซื้อรายใหญ่จนควบคุมราคาสินค้าเกษตรเอาไว้ได้ ส่งผลให้เกษตรกรไทย ถูกกดราคา ไม่มีอำนาจต่อรอง เนื่องจากไม่มีร้านค้าเล็ก ๆ ที่จะสามารถนำสินค้าไปขายได้แล้ว ก็ต้องขายให้แต่ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามหากวันหนึ่ง หากเทสโก ขาดทุนแล้วล้มละลายไป เศรษฐกิจไทยก็จะพังไปเป็นแถบ ๆ เพราะเมื่อไม่มีห้างเทสโก เกษตรกรก็ไม่รู้จะเอาสินค้าไปส่งขายใคร อีกทั้งเงินทุนที่ห้างเทสโกกู้ยืมมาจำนวนมหาศาล ก็จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้ปั่นป่วนไปทั่วโลกอีกด้วย

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ไม่สามารถทำให้คนไทยพึ่งพาตัวเองได้เลย ต่างจากในอดีตที่คนไทยยึดถือหลักเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ ที่ฝรั่งชาวเยอรมันชื่อ อี.เอฟ.ชูมักเกอร์ นำไปเขียนเป็นหนังสือที่ชื่อ Small is Beautiful หรือ จิ๋วแต่แจ๋ว นั่นคือ การพึ่งพาธรรมชาติ และทำลายธรรมชาติน้อยที่สุด เวลาทำธุรกิจก็ทำเพียงเล็ก ๆ แบบพออยู่พอกิน เมื่อทำเกษตรกรรม ก็ทำแบบพึ่งพิงธรรมชาติโดยปลูกพืชผสมผสาน ทำให้ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมี อันจะส่งผลเสียต่อธรรมชาติ ดังนั้นความคิดของการเมืองใหม่ จึงไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่ในอดีตเคยมีการทำเอาไว้แล้ว แต่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ต่างหากที่เป็นผู้เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้เป็นแบบทุนนิยมที่มีหลักคิดแบบต้องการชนะธรรมชาติ โดยไม่พึ่งพิงธรรมชาติ แต่กลับต้องพึ่งอำนาจทุน และสารเคมีจากประเทศตะวันออกแต่เพียงอย่างเดียว

นายพิภพ ได้ยกตัวอย่างของนายมาซาโนบุ ฟูโอกะ เกษตรกรชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งได้รับรางวัลแมกไซไซ ด้วยว่า นายฟูโอกะ ได้เคยกล่าวกับตนเอาไว้เมื่อมาประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน ว่าเมืองไทยเปรียบเสมือนสวรรค์ที่ไม่ว่าพื้นที่ใด ก็สามารถปลูกพืชได้ ซึ่งการปลูกพืชแบบของไทยก็เป็นแบบพึ่งพาตัวเอง นั่นคือการปลูกพืชให้เหมือนในป่า นั่นคือมีพืชหลายชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันแล้วพืชแต่ละชนิดนั้น ก็จะพึ่งพากันและกันเอง เหมือนอย่างในป่า ซึ่งนายฟูโอกะ ก็ได้นำแนวคิดดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพาะปลูกในประเทศญี่ปุ่น จนสามารถปลูกข้าวโดยไม่ใช้ปุ๋ย ไม่ใช่สารเคมี และไม่ไถได้ แต่ใช้ไส้เดือนไถพรวนดินตามธรรมชาติได้

แต่อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย ที่ระบบการปลูกพืชของเมืองไทย ได้เปลี่ยนไปพร้อมกับระบบทุนนิยม นั่นคือ เกษตรกรไทยได้เปลี่ยนจากการปลูกพืชผสมผสาน เพื่อใช้กินเองแบบพอเพียง ไปเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือปลูกพืชชนิดเดียวเพื่อให้ได้จำนวนมากๆ เพื่อส่งออกขาย และเมื่อทำเช่นนั้นพืชก็ไม่สามารถพึ่งพากันได้ ในที่สุดก็ต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ และเมื่อใช้นานเข้าก็ส่งผลให้ดินเสื่อมคุณภาพอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

นายพิภพ กล่าวต่อไปว่า แท้จริงแล้วแนวความคิดที่จะทำเศรษฐกิจแบบพึ่งตัวเองให้เกิดขึ้นนั้น ได้มีคนไทยกลุ่มต่าง ๆ ที่เป็นองค์กรพัฒนาชุมชนได้คิดและทำกันมานานแล้ว แนวคิดนี้จึงถือเป็นความหวังขององค์กรพัฒนาชุมชนเหล่านั้น ที่จะกลับมาร่วมกันสร้างความยั่งยืน และการพึ่งพิงตัวเองของประชาชนได้อีกครั้ง ตัวอย่างเช่น ก่อนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ องค์กรพัฒนาชุมชนต่าง ๆ ได้เคยคิดรูปแบบของสหกรณ์ออมทรัพย์เอาไว้ เพื่อเก็บไว้เป็นกองทุนของเกษตรกรในท้องถิ่น เพื่อให้คนในท้องถิ่นพึ่งพิงตนเองได้ ซึ่งถ้าไม่มีรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ป่านนี้สหกรณ์เหล่านั้นคงพัฒนาไปเป็นธนาคารขนาดเล็กในท้องถิ่น เพื่อไว้บริการกู้ยืมให้คนในท้องถิ่นไปแล้ว แทนที่จะมีแต่ธนาคารขนาดใหญ่ในเมืองหลวงซึ่งคอยแต่จะให้บริษัทใหญ่ กู้ยืมเท่านั้น แต่เกษตรกร หรือชาวชนบทกลับหมดสิทธิ์ที่จะได้ใช้สิทธิเหล่านั้น

ดังนั้นแนวคิดการเมืองใหม่ในวันนี้ จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการเปลี่ยนแปลง ทางการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองเท่านั้น แต่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในทุกระบบ นำบ้านเมืองเรากลับไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ หรือ ระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั่นเอง ดังนั้นเราจึงยังไม่ต้องเถียงกันหรอกว่าจะให้สัดส่วนของ ส.ส.ที่เลือกตั้งกี่เปอร์เซ็นต์ หรือ แบบสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์ แต่เราควรมาช่วยกันคิด ช่วยกันวิเคราะห์ว่า จะเลือกตัวแทนมาจากองค์กรใดบ้าง และเลือกอย่างไร เพื่อให้ได้ตัวแทนจากทุกภาคส่วนจริง ๆ อันจะนำมาซึ่งการร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองที่ยั่งยืน โดยแท้จริง




อ่านข่าวกันเยอะ จะได้รู้ทันเหตุการณ์บ้านเมืองนะค่ะ^_^


“สมศักดิ์”ย้ำเหตุต้าน“สมชาย” ชี้เป็นนอมินียิ่งกว่า“หมัก”

“สนธิ”แนะรับมือพิษการเงินโลก-ย้ำการเมืองใหม่สร้างระบบ ศก.เป็นธรรม

“พล.ต.จำลอง”ขอแรงใจพันธมิตรฯหนุนช่วย ASTV อีกรอบ

6 พรรคดูดดื่ม หนุน “น้องเขยแม้ว” นั่งนายกฯ




เห็นด้วย/ไม่เห็นด้วยอย่างไรบอกได้นะค่ะ





ที่มา
: http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000110139

อัพเดต โดย นส.วรัชญา เสาร์คำ ID 513 1601 473




1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เห็นด้วยกับหลังเศรษฐกิจพอเพียงครับ