วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2551

คองเกรสฉีกหน้า บุช! ส่อไม่อนุมัติแผนกู้วิกฤตในสัปดาห์นี้

โดย มติชน
วัน พฤหัสบดี ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2551 00:00 น.
ส.ส.-ส.ว.มะกันหวั่นทุ่ม 23.8 ล้านล้านดอลล์ เยียวยาตกเป็นภาระประชาชน เพราะไม่มีหลักประกันย้ำว่าจะได้ผล รีพับลิกัน ซ้ำ แก้ปัญหาแบบใช้เงินมากเกินด้านเฟด-ธนาคารกลางอังกฤษ-สหภาพยุโรป-บีโอเจอัดฉีดเงินเสริมสภาพคล่องอีกระลอก
จอร์จ ดับเบิลยู บุชสำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 24 กันยายนว่า สมาชิกสภาคองเกรส เริ่มแสดงท่าทีกังขาต่อแผนการกอบกู้วิกฤตการเงิน ที่กระทรวงการคลังเสนอมาเพื่อใช้เงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ (ประมาณ 23.8 ล้านล้านบาท) เข้าซื้อหนี้เสียของสถาบันการเงิน เพราะเกรงว่าจะเป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนผู้เสียภาษีมากเกินไป อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าคองเกรสจะไม่เร่งร้อนอนุมัติตามที่รัฐบาลต้องการ รวมทั้งแสดงท่าทีต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขไปจากร่างเดิมที่รัฐบาลเสนอมา ทั้งนี้ นายคริสโตเฟอร์ ดอดด์ ส.ว.จากพรรคเดโมแครต ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการธนาคาร กล่าวภายหลังจากการรับฟังคำให้การจาก นายเบน เบอร์นันกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) และนายเฮนรี่ พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่า มาตรการที่กระทรวงการคลังเสนอมาเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ เพราะไม่มีอะไรมารับประกันว่าแผนนี้จะได้ผล ดังนั้นก่อนที่สภาจะอนุมัติก็ควรจะได้มีการอภิปรายและพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่านี้หรือไม่ขณะที่นางแนนซี่ เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐกล่าวว่า ได้เวลายุติงานปาร์ตี้ของบรรดาประธานบริหารบริษัทการเงินที่เกิดปัญหาเหล่านี้แล้ว พวกเขาไม่ควรได้รับเงินชดเชยหรือหนีไปพร้อมกับร่มชูชีพทองคำหลังจากทำให้บริษัทเสียหายรายงานข่าวเปิดเผยว่า แม้พรรคเดโมแครตจะครองเสียงข้างมากในทั้งสองสภา แต่บรรดานักการเมืองในซีกพรรครีพับลิกันก็ได้แสดงท่าทีสงสัยแผนการดังกล่าวของกระทรวงการคลังด้วย โดยเห็นว่ามาตรการที่เสนอมาไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาแต่เป็นการแก้ไขปัญหาแบบสังคมนิยมเพราะใช้เงินสูงเกินไป ซึ่งท่าทีแข็งขืนของสภาคองเกรส เท่ากับฉีกหน้าประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ที่ได้กล่าวต่อที่ประชุมใหญ่ประจำปีสมัชชาสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เมื่อวันที่ 23 กันยายนที่ย้ำว่า คองเกรสจะเห็นชอบวงเงิน 7 แสนล้านดอลลาร์ภายในเวลาอันรวดเร็วรายงานข่าวเปิดเผยว่า เดิมคาดหมายกันว่าคองเกรสจะเห็นชอบแผนของกระทรวงการคลังภายในสัปดาห์นี้ เพราะทางรัฐบาลได้ชี้ให้เห็นว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนในการกอบกู้วิกฤตก่อนที่จะมีสถาบันการเงินอีกหลายแห่งล้มอีก แต่การแข็งขืนของคองเกรสอาจสร้างความไม่แน่นอนว่าการอนุมัติจะเกิดขึ้นภายในเวลาที่กำหนดหรือที่ตกลงกันไว้เดิมหรือไม่ส่วนการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ตลาดเงินทั่วโลกนั้น วันเดียวกันนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้อัดฉีดเงิน 3 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่ตลาดเพื่อให้ธนาคารกลางของออสเตรเลีย เดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน มีเงินดอลลาร์สหรัฐในมือเพียงพอเพื่อแก้สภาพคล่องตึงตัว ซึ่งเป็นไปตามโครงการแลกเงินตราระหว่างกันเพื่อแก้ไขวิกฤตการเงิน ขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษอัดฉีดอีก 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่นอัดฉีดเงินเยนเข้าตลาดการเงินของตนอีก 1.5 ล้านล้านเยน (ประมาณ 4.82 แสนล้านบาท)สำหรับผลพวงจากการล้มละลายของเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐนั้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน มีผู้ฝากเงินประมาณ 200 คนไปเข้าคิวที่หน้าสำนักงานของธนาคารแบงก์ ออฟ อีสต์ เอเชีย (บีอีเอ) ในฮ่องกง เพื่อขอเงินฝากคืน หลังจากมีข่าวลือว่าธนาคารดังกล่าวมีความไม่มั่นคงเพราะได้รับความเสียหายจากการลงทุนในเลห์แมนฯ รวมทั้งในอเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) ทำให้ผู้บริหารของบีอีเอต้องออกแถลงการณ์ยืนยันว่าข่าวลือดังกล่าวไม่เป็นความจริงและธนาคารมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง โดยมีเงินลงทุนในเลห์แมนฯเพียง 54.2 ล้านดอลลาร์และในเอไอจี 49.9 ล้านดอลลาร์นายโจเซฟ พัง รองประธานบริหารของบีอีเอ กล่าวว่า มีเงินสดเพียงพอที่จะรองรับการถอนของผู้ฝากได้ แต่ไม่ยอมเปิดเผยว่ามีผู้ถอนเงินไปเท่าใด กล่าวเพียงว่าไม่มาก ส่วนลูกค้ารายใหญ่ไม่มีใครถอนเลย




ID 5131601495

ไม่มีความคิดเห็น: