วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

มาชมประกาศฉุกเฉินจากนายกฯ




นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร (2/9/2008)
คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
1.ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร
2.คำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบและมอบอำนาจในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
3.คำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
4.ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
ข้อกำหนด
ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร แล้ว นั้น
พื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับ มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
1.ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย
2.ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ในทั่วราชอาณาจักร
3.ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขในการใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด
4.ห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนด
5.ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน หรือห้ามผู้ใดเข้าไปในพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินกำหนดในการนี้ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินจะกำหนดเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามข้อกำหนด หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนเกินสมควรแก่เหตุก็ได้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551
นายสมัคร สุนทรเวช
(นายกรัฐมนตรี)
Post by Miss Penrat Sattawatcharaved ID5031205237 sec.2

4 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

พ.ร.ก นี้ ถ้ามีประสิทธิภาพก็จะสามารถช่วยควบคุมเหตุการณืได้ แต่ก็อาจเป็นเหตุให้เกิดการประท้วงมากขึ้นเช่นกัน


น.ส.เพียงตะวัน พงษ์ไพบูลย์
ID5131601149
ฝากบล็อคเราด้วยนะคะ
http://thai-political.blogspot.com

Unknown กล่าวว่า...

พ.ร.ก นี้อาจทำให้สถานการณ์ดีขึ้น หรือไม่ก็สามารถทำให้การประท้วงรุนแรงขึ้เช่นกัน

น.ส.เพียงตะวัน พงษ์ไพบูลย์
ID5131601149
ฝากบล็อคเราด้วยนะคะ
http://thai-political.blogspot.com

Law of Politics กล่าวว่า...

พ.ร.ก.นี้ ใช้ได้จริงเหรอ

1. ห้ามชุมนุมกันเกิน5คน แต่ที่ทำเนียบรัฐบาลมีคนนับแสน

2. ห้ามบิดเบือนข่าวสาร ตำรวจยิงแก็สน้ำตา ข่าวบอกตำรวจแค่ฉีดถังดับเพลิง (บังเอิญว่าเราไปเห็นคลิปตอนเหตุการ์ณนั้นพอดี แล้วก้อเห็นเต็มตาเลยว่านั่นคือแก็สน้ำตาไม่ใช่ถังดับเพลิง ออกกฎหมายแบบนี้ แต่รัฐบาลบิดเบือนเองเนี่ยนะ)

ออกกฎเพื่อความสงบหรืออกกฎเพื่อคุ้มครองใครกันแน่่
ไม่รู้นะค่ะว่าคนอื่นคิดไง แต่นี่เป็นเพียงความคิดของเราค่ะ
ถ้าไม่ตรงกับความคิดของใครก็ขอ อภัยด้วยนะค่ะ

โดย นส. วรัชญา เสาร์คำ ID. 5131601473

Law of Politics กล่าวว่า...

ขอบคุณที่มาช่วยกันเม้นนะคะ

ผู้โพส น.ส.เพ็ญรัตน์ สัตตวัชราเวช
ID5031205237