ผู้จัดการรายวัน- ศาลนัดพิพากษา"ทักษิณ-พจมาน" ทุจริตซื้อที่ดินรัชดาวันนี้ อัยการเชื่อศาลไม่เลื่อนคำพิพากษา ชี้ข้อเท็จจริงระบุชัดจำเลยหลบหนี ขณะที่คดีปล่อยกู้พม่าศาลจำหน่ายคดีชั่วคราว พร้อมออกหมายใบที่ 3 หลังเบี้ยวนัดพิจารณาคดีครั้งแรก ส่วนคดีปกปิดโครงสร้างเอสซีแอสเสท "ยิ่งลักษณ์" ยื่นคำร้องขอเลื่อนเพราะตามตัวพี่ชาย พี่สะใภ้ไม่ได้ อัยการนัดสั่งอีกครั้ง 29 ต.ค.นี้
วันนี้(17 ก.ย.) เวลา 10.00 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยในความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา152 และ157 ซึ่งอัยการขอให้ยึดที่ดินและเงินจำนวน 772 ล้านบาทเศษ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่กระทำผิด
นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง เขต 8 หนึ่งในคณะทำงานรับผิดชอบคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก กล่าวถึงการนัดฟังคำพิพากษาว่า เมื่อปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาคดีของศาลเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ซึ่งเป็นนัดสืบพยานจำเลยนัดสุดท้ายว่าพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จำเลยทั้งสองหลบหนีไม่มาศาล และศาลมีคำสั่งให้โจทก์–จำเลย ยื่นคำแถลงปิดคดี ในวันที่ 10 ก.ย. ซึ่งอัยการยื่นคำแถลงปิดคดีไปโดยถูกต้องแล้ว และศาลรับไว้ โดยไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมาอีก อีกทั้งยังปรากฏว่าศาลได้ออกหมายจับทั้งสองเมื่อวันที่ 11 ส.ค.ในกรณีที่ไม่เดินทางมารายงานตัวต่อศาล หลังจากกลับจากต่างประเทศแล้ว และจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถติดตามตัวจำเลยทั้งสองได้ จึงน่าเชื่อว่าหากวันนี้จำเลยไม่มาฟังคำพิพากษา ก็มีความเป็นไปได้ที่ศาลจะอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
อัยการเชื่อศาลพิพากษา
นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า แม้ตามกฎหมายจะต้องให้อ่านคำพิพากษาต่อหน้าจำเลย แต่เมื่อคดีนี้ศาลอนุญาตให้สืบพยานลับหลังจำเลย และในรายงานกระบวนพิจารณาคดีศาลเคยระบุว่า แม้จำเลยทั้งสองอยู่ต่างประเทศ แต่ก็ถือว่าตัวจำเลยยังอยู่ในอำนาจศาล ดังนั้นอาจไม่ต้องออกหมายจับจำเลยอีก และเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปอีก30วัน แต่ทั้งนี้จะเลื่อนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ซึ่งในวันนี้อัยการก็ไม่จำเป็นต้องแถลงต่อศาลยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองหลบหนีไปอีก เพราะข้อเท็จจริงปรากฏในกระบวนพิจารณาของศาลแล้ว หากศาลอ่านคำพิพากษาทันทีและเห็นว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ก็จะออกหมายจับจำเลยมารับโทษ แต่ถ้าศาลพิพากษายกฟ้อง กระบวนการทางคดีก็ยุติ
"คดีของพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน กับคดีนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรมช.มหาดไทย มีความแตกต่างกัน เพราะนายวัฒนา เดินทางมาศาลเกือบทุกนัดระหว่างการพิจารณา และขณะที่ศาลมีคำสั่งนัดฟังคำพิพากษา นายวัฒนา ก็ยังไม่ได้หลบหนี กระทั่งวันพิพากษา นายวัฒนาไม่ได้มาศาลจึงถูกออกหมายจับ แล้วเมื่อยังไม่ได้ตัวมาภายใน 30 วันหลังจากออกหมายจับ ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลับหลัง แต่ในกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานนั้นปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลบหนีไปตั้งแต่ชั้นพิจารณา โดยไม่มารายงานตัวหลังจากเดินทางไปต่างประเทศ จนถูกออกหมายจับ ซึ่งศาลไม่ได้สั่งจำหน่ายคดีเพื่อพักการพิจารณาคดี แต่ได้กำหนดนัดฟังคำพิพากษา" นายนันทศักดิ์กล่าว
ทนายแม้วไม่พูดเรื่องรูปคดี
ด้านนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ถึงรูปคดี บอกเพียงให้รอฟังคำพิพากษาและไม่รับปากว่าในวันนี้จะเดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 , 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157
โดยอัยการโจทก์ และจำเลย นำพยานเข้าไต่สวนพยานโจทก์ฝ่ายละ20 ปาก ใช้เวลา 2 เดือน ก.ค.–ส.ค. นำสืบฝ่ายละ5นัด ซึ่งพยานโจทก์ประกอบด้วย กลุ่มอดีตนายกรัฐมนตรี , กลุ่ม คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) , กลุ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) และเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
หมายจับแม้วพักคดีปล่อยกู้พม่า
วานนี้ (16 ก.ย.) เวลา 10.00 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายปัญญา สุทธิบดี รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะ 9 คน ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ อม.3/2551 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นโจทก์ ฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิด เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่นด้วยกิจการนั้น และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา152,157 กรณีที่จำเลยอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลพม่า วงเงิน 4,000 ล้านบาท ในโครงการปรับปรุงระบบโทรคมนาคมของประเทศพม่า เพื่อเอื้อประโยชน์ในธุรกิจดาวเทียมที่มีการสั่งซื้ออุปกรณ์จากบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ และบริษัทในเครือตระกูลชินวัตร
การนำพิจารณาคดี ทางนายสิทธิโชค ศรีเจริญ ทนายโจทก์ และคณะและนายวัชระ สุคนธ์ กับคณะ ทนายจำเลยมาศาล ส่วนจำเลยไม่มาศาล
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยได้รับหมายเรียก ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พฤติการณ์เชื่อว่ามีเจตนาจะหลบหนี จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว และให้ออกหมายจับจำเลยมาเพื่อพิจารณาคดีต่อไป โดยเมื่อได้ตัวจำเลยมาจึงจะนำคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง
ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 15 ก.ย.51 ขอถอนนายวัชระ สุคนธ์ และคณะรวม 3 คน ออกจากการเป็นทนายความจำเลย องค์คณะพิจารณาแล้วอนุญาต ส่วนที่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 51 โต้แย้งข้อกฎหมายที่ใช้บังคับคดีนี้ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลเห็นควรมีคำสั่งประเด็นดังกล่าวไว้ในคำพิพากษา
สำหรับการออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นับว่าเป็นหมายจับครั้งที่ 3 แล้ว โดยหมายจับสองครั้งแรก องค์คณะคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯ เป็นผู้สั่งซึ่งศาลได้สั่งปรับนายประกันแล้วเป็นเงินจำนวน 8 ล้านบาท
เลื่อนสั่งฟ้องเอสซีฯ
ขณะที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ได้นัดฟังการสั่งคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท, นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ , พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นผู้ต้องหาที่ 1-4 โดยวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายประกัน เดินทางมายื่นคำร้องขอเลื่อนฟังการสั่งคดีออกไป โดยอ้างว่าจะติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มาฟังการสั่งคดีในนัดหน้า ซึ่งหากทั้งสองไม่มาตามนัด ยินดีให้ปรับนายประกัน
ภายหลังนายเศกสรรค์ กล่าวว่าขณะนี้พนักงานอัยการ ได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติม ที่สั่งให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ( ดีเอสไอ) ติดตามเอกสารหลักฐานการถือครองหุ้นจากต่างประเทศ มาแล้วบางส่วน ซึ่งอัยการต้องพิจารณาสำนวนอย่างละเอียดอีกครั้ง ประกอบกับผู้ต้องขอเลื่อนการฟังคำสั่งคดี ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้เลื่อนการสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 29 ต.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ซึ่งหาก พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ไม่มาฟังคำสั่งจะปรับนายประกันคนละ 1 ล้านบาท และออกหมายจับต่อไป
ความเครื่อนไหวอื่นๆที่น่าติดตามค่ะ
6 พรรคโหวต"สมชาย"ขึ้นวอ พันธมิตรฯ ยึดทำเนียบฯ ไล่ต่อ
ช่อง 11 ลุกฮือ!ไล่แก๊งเหลือบบี้ลบทิ้ง"NBT"
อย่าลืมช่วยกันโพสเยอะๆนะค่ะ
ที่มา
: http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000110085
อัพเดต โดย นส.วรัชญา เสาร์คำ ID 513 1601 473
วันนี้(17 ก.ย.) เวลา 10.00 น. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นัดอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯมูลค่า 772 ล้านบาทเศษ ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นจำเลยในความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา152 และ157 ซึ่งอัยการขอให้ยึดที่ดินและเงินจำนวน 772 ล้านบาทเศษ ซึ่งเป็นทรัพย์ที่กระทำผิด
นายนันทศักดิ์ พูลสุข อธิบดีอัยการฝ่ายคดีศาลสูง เขต 8 หนึ่งในคณะทำงานรับผิดชอบคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก กล่าวถึงการนัดฟังคำพิพากษาว่า เมื่อปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาคดีของศาลเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ซึ่งเป็นนัดสืบพยานจำเลยนัดสุดท้ายว่าพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จำเลยทั้งสองหลบหนีไม่มาศาล และศาลมีคำสั่งให้โจทก์–จำเลย ยื่นคำแถลงปิดคดี ในวันที่ 10 ก.ย. ซึ่งอัยการยื่นคำแถลงปิดคดีไปโดยถูกต้องแล้ว และศาลรับไว้ โดยไม่มีคำสั่งใดๆ ออกมาอีก อีกทั้งยังปรากฏว่าศาลได้ออกหมายจับทั้งสองเมื่อวันที่ 11 ส.ค.ในกรณีที่ไม่เดินทางมารายงานตัวต่อศาล หลังจากกลับจากต่างประเทศแล้ว และจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถติดตามตัวจำเลยทั้งสองได้ จึงน่าเชื่อว่าหากวันนี้จำเลยไม่มาฟังคำพิพากษา ก็มีความเป็นไปได้ที่ศาลจะอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลย
อัยการเชื่อศาลพิพากษา
นายนันทศักดิ์ กล่าวว่า แม้ตามกฎหมายจะต้องให้อ่านคำพิพากษาต่อหน้าจำเลย แต่เมื่อคดีนี้ศาลอนุญาตให้สืบพยานลับหลังจำเลย และในรายงานกระบวนพิจารณาคดีศาลเคยระบุว่า แม้จำเลยทั้งสองอยู่ต่างประเทศ แต่ก็ถือว่าตัวจำเลยยังอยู่ในอำนาจศาล ดังนั้นอาจไม่ต้องออกหมายจับจำเลยอีก และเลื่อนฟังคำพิพากษาออกไปอีก30วัน แต่ทั้งนี้จะเลื่อนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ซึ่งในวันนี้อัยการก็ไม่จำเป็นต้องแถลงต่อศาลยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองหลบหนีไปอีก เพราะข้อเท็จจริงปรากฏในกระบวนพิจารณาของศาลแล้ว หากศาลอ่านคำพิพากษาทันทีและเห็นว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ก็จะออกหมายจับจำเลยมารับโทษ แต่ถ้าศาลพิพากษายกฟ้อง กระบวนการทางคดีก็ยุติ
"คดีของพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน กับคดีนายวัฒนา อัศวเหม อดีตรมช.มหาดไทย มีความแตกต่างกัน เพราะนายวัฒนา เดินทางมาศาลเกือบทุกนัดระหว่างการพิจารณา และขณะที่ศาลมีคำสั่งนัดฟังคำพิพากษา นายวัฒนา ก็ยังไม่ได้หลบหนี กระทั่งวันพิพากษา นายวัฒนาไม่ได้มาศาลจึงถูกออกหมายจับ แล้วเมื่อยังไม่ได้ตัวมาภายใน 30 วันหลังจากออกหมายจับ ศาลจึงอ่านคำพิพากษาลับหลัง แต่ในกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมานนั้นปรากฏข้อเท็จจริงว่าหลบหนีไปตั้งแต่ชั้นพิจารณา โดยไม่มารายงานตัวหลังจากเดินทางไปต่างประเทศ จนถูกออกหมายจับ ซึ่งศาลไม่ได้สั่งจำหน่ายคดีเพื่อพักการพิจารณาคดี แต่ได้กำหนดนัดฟังคำพิพากษา" นายนันทศักดิ์กล่าว
ทนายแม้วไม่พูดเรื่องรูปคดี
ด้านนายคำนวณ ชโลปถัมภ์ ทนายความ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ถึงรูปคดี บอกเพียงให้รอฟังคำพิพากษาและไม่รับปากว่าในวันนี้จะเดินทางมาร่วมฟังคำพิพากษาหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมกันเป็นคู่สัญญา หรือมีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฎิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบ หรือดำเนินคดีและเป็นเจ้าพนักงาน และผู้สนับสนุนเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พ.ศ.2542 ม.4 , 100 และ 122 ประมวลกฎหมายอาญา ม.33, 83, 86, 91, 152 และ 157
โดยอัยการโจทก์ และจำเลย นำพยานเข้าไต่สวนพยานโจทก์ฝ่ายละ20 ปาก ใช้เวลา 2 เดือน ก.ค.–ส.ค. นำสืบฝ่ายละ5นัด ซึ่งพยานโจทก์ประกอบด้วย กลุ่มอดีตนายกรัฐมนตรี , กลุ่ม คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) , กลุ่มเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย( ธปท.) และเจ้าหน้าที่กองทุนฟื้นฟูกิจการและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และกลุ่มเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน
หมายจับแม้วพักคดีปล่อยกู้พม่า
วานนี้ (16 ก.ย.) เวลา 10.00 น. ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายปัญญา สุทธิบดี รองประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะ 9 คน ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรก ในคดีหมายเลขดำที่ อม.3/2551 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นโจทก์ ฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลย ในความผิดฐานใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิด เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่นด้วยกิจการนั้น และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา152,157 กรณีที่จำเลยอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ ให้กับรัฐบาลพม่า วงเงิน 4,000 ล้านบาท ในโครงการปรับปรุงระบบโทรคมนาคมของประเทศพม่า เพื่อเอื้อประโยชน์ในธุรกิจดาวเทียมที่มีการสั่งซื้ออุปกรณ์จากบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ และบริษัทในเครือตระกูลชินวัตร
การนำพิจารณาคดี ทางนายสิทธิโชค ศรีเจริญ ทนายโจทก์ และคณะและนายวัชระ สุคนธ์ กับคณะ ทนายจำเลยมาศาล ส่วนจำเลยไม่มาศาล
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยได้รับหมายเรียก ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พฤติการณ์เชื่อว่ามีเจตนาจะหลบหนี จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว และให้ออกหมายจับจำเลยมาเพื่อพิจารณาคดีต่อไป โดยเมื่อได้ตัวจำเลยมาจึงจะนำคดีขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง
ส่วนที่ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลย ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 15 ก.ย.51 ขอถอนนายวัชระ สุคนธ์ และคณะรวม 3 คน ออกจากการเป็นทนายความจำเลย องค์คณะพิจารณาแล้วอนุญาต ส่วนที่จำเลยยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 51 โต้แย้งข้อกฎหมายที่ใช้บังคับคดีนี้ว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลเห็นควรมีคำสั่งประเด็นดังกล่าวไว้ในคำพิพากษา
สำหรับการออกหมายจับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นับว่าเป็นหมายจับครั้งที่ 3 แล้ว โดยหมายจับสองครั้งแรก องค์คณะคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯ เป็นผู้สั่งซึ่งศาลได้สั่งปรับนายประกันแล้วเป็นเงินจำนวน 8 ล้านบาท
เลื่อนสั่งฟ้องเอสซีฯ
ขณะที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก นายเศกสรรค์ บางสมบุญ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ ได้นัดฟังการสั่งคดีปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้น บริษัทเอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่มีนางเพ็ญโสม ดามาพงศ์ กรรมการบริษัท, นางบุษบา ดามาพงศ์ อดีตกรรมการบริษัทฯ , พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา เป็นผู้ต้องหาที่ 1-4 โดยวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวพ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานะนายประกัน เดินทางมายื่นคำร้องขอเลื่อนฟังการสั่งคดีออกไป โดยอ้างว่าจะติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มาฟังการสั่งคดีในนัดหน้า ซึ่งหากทั้งสองไม่มาตามนัด ยินดีให้ปรับนายประกัน
ภายหลังนายเศกสรรค์ กล่าวว่าขณะนี้พนักงานอัยการ ได้รับผลการสอบสวนเพิ่มเติม ที่สั่งให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ( ดีเอสไอ) ติดตามเอกสารหลักฐานการถือครองหุ้นจากต่างประเทศ มาแล้วบางส่วน ซึ่งอัยการต้องพิจารณาสำนวนอย่างละเอียดอีกครั้ง ประกอบกับผู้ต้องขอเลื่อนการฟังคำสั่งคดี ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้เลื่อนการสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 29 ต.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ซึ่งหาก พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ไม่มาฟังคำสั่งจะปรับนายประกันคนละ 1 ล้านบาท และออกหมายจับต่อไป
ความเครื่อนไหวอื่นๆที่น่าติดตามค่ะ
6 พรรคโหวต"สมชาย"ขึ้นวอ พันธมิตรฯ ยึดทำเนียบฯ ไล่ต่อ
ช่อง 11 ลุกฮือ!ไล่แก๊งเหลือบบี้ลบทิ้ง"NBT"
อย่าลืมช่วยกันโพสเยอะๆนะค่ะ
ที่มา
: http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000110085
อัพเดต โดย นส.วรัชญา เสาร์คำ ID 513 1601 473
1 ความคิดเห็น:
เมื่อไหรเรื่องจะจบซักทีนะ
หนีกันไป
หนีกันมา
แสดงความคิดเห็น