วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การปกครองของประเทศต่างๆ

การเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษ

อังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์ อักษร แต่อังกฤษได้สร้างกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่เป็น มรดกสำคัญ ซึ่งทิ้งไว้ให้แก่โลก คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบ รัฐสภาขึ้นดังที่มีประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก ต่างพากันใช้ระบบ นี้ภายใต้ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของ 3 สถาบันหลัก







อังกฤษ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของดินแดนล้อมรอบด้วยทะเล เรียกว่า เกาะบริเตนใหญ่ (Great Britain : G.B.) อันประกอบด้วย 3 ประเทศ หรือ แคว้น คือ อิงแลนด์ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) และเวลส์ (Wales) แต่ทว่า เมื่อผนวกเอาอีกประเทศหนึ่ง คือ ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) เข้ามารวมอยู่ด้วยแล้ว ทั้งหมดจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สหราชอาณาจักร” (The United Kingdom : U.K.)
BigBell สหราชอาณาจักร ซึ่งถือกำเนิดในปี ค.ศ.1801 นั้น เกิดจากการผนวกรวมของแคว้นต่างๆ ที่เคยเป็นรัฐอิสระมาอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเดียวกัน ณ เวสมินเตอร์ ใน ลอนดอน การผนวกรวมนี้ เกิดขึ้นต่างวาระกัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักร จึงประกอบด้วย อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ นั่นเอง ดังนั้น เพื่อความเข้าใจง่าย ในที่นี้ จะขอเรียก สหราชอาณาจักร ว่า อังกฤษ ประเทศอังกฤษ เป็นแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อันเนื่องมาจากการที่ประเทศอังกฤษมีประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองที่มีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน
ในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องราวของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อทำความเข้าใจ และแสดงให้เห็นถึงสภาพทางประวัติศาสตร์ และการเมืองการปกครองของอังกฤษ ที่ส่งผลทำให้อังกฤษมีระบบการปกครองที่ได้รับการยอมรับยิ่งจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ประวัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ
รัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกๆ มีบทบัญญัติที่สำคัญดังนี้


บทบัญญัติแมคนาคาร์ตา (Magna Carta, 1215


ในสมัยพระเจ้าจอห์นซึ่งพระองค์ต้องการเงินทำสงคราม จึงบังคับให้ประชาชนเสียภาษีมากขึ้นและทำการปกครองโดยการกดขี่ประชาชนทำให้ประชาชนเดือดร้อน จนก่อให้เกิดการรวมกำลังต่อต้านพระมหากษัตริย์ และบังคับให้พระเจ้าจอห์นลงพระนามในเอกสารที่สำคัญ คือ บทบัญญัติแมคนาคาร์ตาในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ (1) พระเจ้าแผ่นดินจะเรียกเก็บภาษี หรือขอให้ราษฎรให้ความช่วยเหลือไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมจากที่ประชุมหัวหน้าราษฎร (2) การงดใช้กฎหมาย หรือการยกเว้นไม่ใช้กฎหมายบังคับแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะกระทำไม่ได้ (3) บุคคลใดๆ จะถูกจับกุมคุมขัง หน่วงเหนี่ยว หรือขับไล่เนรเทศไม่ได้ นอกจากการนั้นเป็นไปโดยคำพิพากษาที่ชอบ และตามกฎหมายของบ้านเมือง นอกจากนี้บทบัญญัติแมคนาคาร์ตาถือเป็นรากเหง้าของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษ และเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองของอังกฤษ รวมทั้งวางหลักวิธีพิจารณาความของอังกฤษด้วย



คำขอสิทธิ (Petition of Right, 1628)
เป็นเอกสารที่วางพื้นฐานให้ประชาชนสามารถประท้วงพระมหากษัตริย์ ในเรื่องของการเก็บภาษี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภา การจับกุมคุมขังตามอำเภอใจ และการกระทำอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบถึงเสรีภาพของประชาชน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงจำยอมต่อข้อเรียกร้องเหล่านี้ทุกข้อ
3 พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (Bill of Rights, 1689)
เป็นการยุติพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ละเว้น และเพิกเฉยต่อการออกกฎหมายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภา ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของสภาสามัญ ในการต่อสู้ กับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์มาเป็นเวลายาวนาน
4 กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ (The Act of Settlement, 1701)
ไม่เพียงแต่บัญญัติเรื่องของการสืบสันตติวงศ์เท่านั้น แต่ยังได้วางหลักความเป็นอิสระในการพิพากษาคดีของศาล และวางเงื่อนไขหลักการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเอาไว้อีกด้วย





ที่มาของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ
ถึงแม้ว่าอังกฤษจะไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประมวลกฎหมายทั้งปวงไว้ด้วยกัน แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบกฎหมาย จารีตประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัตินอกจากนี้รัฐธรรมนูญอังกฤษยังมีองค์ประกอบจากที่มาหลายแหล่ง


กฎหมายที่บัญญัติขึ้น (Statute Law)
เป็นแหล่งสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติที่บัญญัติขึ้นโดยรัฐสภา (Act of Parliament) และกฎหมายรองที่ตราขึ้นตามอำนาจที่พระราชบัญญัติมอบให้ เช่น พระราชบัญญัติรัฐสภา พระราชบัญญัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
2 กฎหมายจารีต (Common Law)
ประกอบด้วย กฎ ระเบียบ และจารีตประเพณี ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งศาลได้ตีความวินิจฉัยแล้วให้ความเห็นชอบด้วย จึงถือเป็นกฎหมายที่มีมาก่อน (Precedent) และกลายเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบกฎหมายอังกฤษ รัฐสภายอมรับบทบัญญัติต่างๆ ของกฎหมายจารีต ในการบัญญัติกฎหมายของสภา กฎหมายจารีตที่สำคัญ ได้แก่ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เช่น อำนาจในการทำสนธิสัญญา อำนาจประกาศสงคราม อำนาจยุบสภาอำนาจพระราชทานอภัยโทษ เป็นต้น
3 ธรรมเนียมปฏิบัติ (Conventions Law)
คือ กรอบการประพฤติปฏิบัติเชิงรัฐธรรมนูญที่มีมาเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่ถือเป็นกฎหมาย ไม่สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ ธรรมเนียมปฏิบัติในทางรัฐธรรมนูญอาจแบ่งออกได้เป็น (1) ธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบคณะรัฐมนตรี ที่สำคัญ อย่างเช่น พระราชดำรัสที่พระมหากษัตริย์ทรงอ่านในพิธีเปิดรัฐสภาตามที่สภาสามัญเป็นผู้เขียนขึ้นทูลเกล้า ถือเป็นการแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ รวมถึง ธรรมเนียมปฏิบัติที่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงยับยั้งร่างกฎหมายที่ผ่านเห็นชอบของรัฐสภาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนสภาแล้ว






การเมืองการปกครองของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่มีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภา นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) หรือฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มิใช่องค์ประมุขและไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
รัฐสภา (国会, คกไก) ประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎร (衆議院, ชูงิอิง) มีสมาชิก 480 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และ
วุฒิสภา (参議院, ซังงิอิง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
พรรคการเมืองได้แก่
พรรคเสรีประชาธิปไตย (自由民主党) เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
294 ที่นั่ง (สตรี 26 คน) ในวุฒิสภา 111 ที่นั่ง (สตรี 12 คน) หัวหน้าพรรคคือนายยาซุโอะ ฟุคุดะ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พรรคโคเมโตใหม่ (公明党) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 31 ที่นั่ง (สตรี 4 คน) ในวุฒิสภา
24 ที่นั่ง (สตรี 5 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอะกิฮิโระ โอตะ
พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan: DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 113 ที่นั่ง (สตรี 10 คน) ในวุฒิสภา 82 ที่นั่ง (สตรี 11 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอิจิโร โอะซะวะ
พรรคสังคมประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่ง
ในสภาผู้แทนราษฎร 7 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (สตรี 1 คน) หัวหน้าพรรคคือนางมิซุโฮะ ฟุคุชิมะ
พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 9 ที่นั่ง (สตรี
2 คน) ในวุฒิสภา 9 ที่นั่ง (สตรี 3 คน) หัวหน้าพรรคคือนายคะซุโอะ ชิอิ


การเมืองการปกครองของประเทศอิหร่าน

ประเทศอิหร่าน (ภาษาเปอร์เซีย: Īrān, ایران) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478 ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย (Persia)
อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับ
ปากีสถาน (909 กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน (1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน (500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500 กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานในปี พ.ศ. 2522 การปฏิวัตินำโดยอายะตุลลอห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวีที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลามเทวาธิปไตย (theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (Islamic Republic of Iran, جمهوری اسلامی ایران)

การเมือง
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้
ประมุขสูงสุด (Rahbar)
ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ
อาลี คาเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร
ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor)
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้
รองประธานาธิบดี
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจาก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis)ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร

การเมืองการปกครองของประเทศจีน

ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี



การเมืองการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา (United States of America) เป็นสหพันธรัฐประชาธิปไตย ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยมลรัฐ 50 มลรัฐ ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนต่อกับประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ส่วนพรมแดนทางทะเลนั้นติดต่อกับประเทศแคนาดา รัสเซียและบาฮามาส โดยมีมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแบริง มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแอตแลนติก อ่าวเม็กซิโก และทะเลแคริบเบียนเป็นผืนน้ำล้อมรอบ

โครงสร้างทางการเมืองการปกครอง
มีรูปแบบการปกครองแบบ
สหพันธรัฐ ( Federal Republic) แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมแครต (Democrat) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร มี
ประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate)
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House)
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย
ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทรณ์ (Appeal Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฎีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใด ๆ และการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกานั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งตำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ โดยประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง
สิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไป


การเมืองการปกครองของประเทศอินเดีย


ประมุขแห่งรัฐ นางประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล (प्रतिभा पाटिल Pratibha Devisingh Patil)
ประธานราชยสภา (หรือ วุฒิสภา) นายกฤษาณ กันต์ (Krishan Kant) รองประธานาธิบดี ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง
ประธานสภาผู้แทนราษฎร (หรือ โลกสภา) นายคานตี โมหัน พลโยคี (Ganti Mohana Balayogi) (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999)
นายกรัฐมนตรี นายมันโมหัน สิงห์ (Manmohan Singh)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชสวันต์ สิงห์ (Jaswant Singh), เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1999
โครงสร้างการปกครอง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยราชยสภา (Rajya Sabha) หรือวุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 245 คน สมาชิกส่วนใหญ่ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และโลกสภา (Lok Sabha) หรือสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา
ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาประจำศาลฎีกามีจำนวนไม่เกิน 25 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ระดับรัฐมีศาลสูงเป็นศาลสูงสุดของแต่ละรัฐ รองลงมาเป็นศาลบริวาร (Subordinate Courts) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
การปกครอง ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอำนาจ การปกครองแบ่งเป็นรัฐต่าง ๆ 25 รัฐ และดินแดนสหภาพของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต ขณะนี้ (มกราคม 2544) โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐบัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตติสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตรานจัล (Uttaranchal) และรัฐฌาร์ขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ
การเมืองภายใน
อินเดียมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นสมัยที่ 13 เมื่อวันที่ 5 กันยายน - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนของนายกรัฐมนตรี อตล เพหารี วัชปายี (Atal Behari Vajpayee) ได้แพ้การพิสูจน์เสียงข้างมาก (Vote of Confidence) ในโลกสภาเพียง 1 เสียง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 เนื่องจากพรรค All India Anna Dravida Munnetra Kazagham (AIADMK) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ประกาศถอนการสนับสนุนรัฐบาลผสมของนายวัชปายี อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายวัชปายี ผู้นำพรรคภารติยชนตะ (Bharatiya Janata Party : BJP) ซึ่งร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ อีก 25 พรรค ในนามพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance : NDA) ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ส่งผลให้นายวัชปายีเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียอีกสมัย โดยได้กระทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542 มีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) อินเดีย ทั้งสิ้น 296 เสียง จากจำนวนเสียงทั้งหมด 543 เสียง ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันของอินเดียเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก ซึ่งนับว่ามีฐานเสียงแข็งแกร่งกว่าเดิม (ครั้งที่แล้ว พรรค BJP และพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยด้วยคะแนนเสียง 264 เสียง) ส่วนพรรคคองเกรส และพรรคพันธมิตรได้รับคะแนนเสียงเพียง 133 เสียงเท่านั้น (พรรคคองเกรสพรรคเดียวได้ 112 เสียง) ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนเสียงที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปีของประวัติศาสตร์การเมืองของพรรคคองเกรส ส่งผลให้พรรคคองเกรสและพันธมิตรเป็นพรรคฝ่ายค้าน



Name: Mr. Teesis Vaewchinda ID: 513-1601-354
Name: Mr. Chanchai Punyaphet ID: 513-1601-299
Name: Mr. Jiranuwat Thipkaew ID: 513-1601-274
Name: Mr. Vuttipoom Lersviriyajitt ID: 513-1601-495
Name: Miss.Penrat Sattawatcharawed ID: 503-1205-237
Name: Miss. Sutinee Phetyu ID: 513-1601-542
Name: Miss. Jiranan Tamnu ID: 513-1601-271
Name: Miss. Phantira Prakainree ID: 513-1601-443
Name: Miss.Varatchaya Saokham ID: 513-1601-473

ไม่มีความคิดเห็น: