วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การปกครองของประเทศต่างๆ

การเมืองการปกครองของประเทศอังกฤษ

อังกฤษเป็นประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์ อักษร แต่อังกฤษได้สร้างกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่เป็น มรดกสำคัญ ซึ่งทิ้งไว้ให้แก่โลก คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบ รัฐสภาขึ้นดังที่มีประเทศต่าง ๆ จำนวนมาก ต่างพากันใช้ระบบ นี้ภายใต้ความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันของ 3 สถาบันหลัก







อังกฤษ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของดินแดนล้อมรอบด้วยทะเล เรียกว่า เกาะบริเตนใหญ่ (Great Britain : G.B.) อันประกอบด้วย 3 ประเทศ หรือ แคว้น คือ อิงแลนด์ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) และเวลส์ (Wales) แต่ทว่า เมื่อผนวกเอาอีกประเทศหนึ่ง คือ ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) เข้ามารวมอยู่ด้วยแล้ว ทั้งหมดจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สหราชอาณาจักร” (The United Kingdom : U.K.)
BigBell สหราชอาณาจักร ซึ่งถือกำเนิดในปี ค.ศ.1801 นั้น เกิดจากการผนวกรวมของแคว้นต่างๆ ที่เคยเป็นรัฐอิสระมาอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเดียวกัน ณ เวสมินเตอร์ ใน ลอนดอน การผนวกรวมนี้ เกิดขึ้นต่างวาระกัน ปัจจุบัน สหราชอาณาจักร จึงประกอบด้วย อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ นั่นเอง ดังนั้น เพื่อความเข้าใจง่าย ในที่นี้ จะขอเรียก สหราชอาณาจักร ว่า อังกฤษ ประเทศอังกฤษ เป็นแม่แบบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การมีรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร อันเนื่องมาจากการที่ประเทศอังกฤษมีประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครองที่มีพัฒนาการมาเป็นเวลายาวนาน
ในที่นี้ จะกล่าวถึงเรื่องราวของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษที่มีลักษณะพิเศษ เพื่อทำความเข้าใจ และแสดงให้เห็นถึงสภาพทางประวัติศาสตร์ และการเมืองการปกครองของอังกฤษ ที่ส่งผลทำให้อังกฤษมีระบบการปกครองที่ได้รับการยอมรับยิ่งจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ประวัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ
รัฐธรรมนูญอังกฤษในยุคแรกๆ มีบทบัญญัติที่สำคัญดังนี้


บทบัญญัติแมคนาคาร์ตา (Magna Carta, 1215


ในสมัยพระเจ้าจอห์นซึ่งพระองค์ต้องการเงินทำสงคราม จึงบังคับให้ประชาชนเสียภาษีมากขึ้นและทำการปกครองโดยการกดขี่ประชาชนทำให้ประชาชนเดือดร้อน จนก่อให้เกิดการรวมกำลังต่อต้านพระมหากษัตริย์ และบังคับให้พระเจ้าจอห์นลงพระนามในเอกสารที่สำคัญ คือ บทบัญญัติแมคนาคาร์ตาในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ (1) พระเจ้าแผ่นดินจะเรียกเก็บภาษี หรือขอให้ราษฎรให้ความช่วยเหลือไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมจากที่ประชุมหัวหน้าราษฎร (2) การงดใช้กฎหมาย หรือการยกเว้นไม่ใช้กฎหมายบังคับแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะกระทำไม่ได้ (3) บุคคลใดๆ จะถูกจับกุมคุมขัง หน่วงเหนี่ยว หรือขับไล่เนรเทศไม่ได้ นอกจากการนั้นเป็นไปโดยคำพิพากษาที่ชอบ และตามกฎหมายของบ้านเมือง นอกจากนี้บทบัญญัติแมคนาคาร์ตาถือเป็นรากเหง้าของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญประเทศอังกฤษ และเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์การปกครองของอังกฤษ รวมทั้งวางหลักวิธีพิจารณาความของอังกฤษด้วย



คำขอสิทธิ (Petition of Right, 1628)
เป็นเอกสารที่วางพื้นฐานให้ประชาชนสามารถประท้วงพระมหากษัตริย์ ในเรื่องของการเก็บภาษี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภา การจับกุมคุมขังตามอำเภอใจ และการกระทำอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบถึงเสรีภาพของประชาชน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงจำยอมต่อข้อเรียกร้องเหล่านี้ทุกข้อ
3 พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (Bill of Rights, 1689)
เป็นการยุติพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ละเว้น และเพิกเฉยต่อการออกกฎหมายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากรัฐสภา ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของสภาสามัญ ในการต่อสู้ กับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์มาเป็นเวลายาวนาน
4 กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ (The Act of Settlement, 1701)
ไม่เพียงแต่บัญญัติเรื่องของการสืบสันตติวงศ์เท่านั้น แต่ยังได้วางหลักความเป็นอิสระในการพิพากษาคดีของศาล และวางเงื่อนไขหลักการปกครองแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเอาไว้อีกด้วย





ที่มาของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ
ถึงแม้ว่าอังกฤษจะไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประมวลกฎหมายทั้งปวงไว้ด้วยกัน แต่กระจัดกระจายอยู่ในรูปแบบกฎหมาย จารีตประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัตินอกจากนี้รัฐธรรมนูญอังกฤษยังมีองค์ประกอบจากที่มาหลายแหล่ง


กฎหมายที่บัญญัติขึ้น (Statute Law)
เป็นแหล่งสำคัญของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยพระราชบัญญัติที่บัญญัติขึ้นโดยรัฐสภา (Act of Parliament) และกฎหมายรองที่ตราขึ้นตามอำนาจที่พระราชบัญญัติมอบให้ เช่น พระราชบัญญัติรัฐสภา พระราชบัญญัติสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น
2 กฎหมายจารีต (Common Law)
ประกอบด้วย กฎ ระเบียบ และจารีตประเพณี ที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งศาลได้ตีความวินิจฉัยแล้วให้ความเห็นชอบด้วย จึงถือเป็นกฎหมายที่มีมาก่อน (Precedent) และกลายเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบกฎหมายอังกฤษ รัฐสภายอมรับบทบัญญัติต่างๆ ของกฎหมายจารีต ในการบัญญัติกฎหมายของสภา กฎหมายจารีตที่สำคัญ ได้แก่ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ เช่น อำนาจในการทำสนธิสัญญา อำนาจประกาศสงคราม อำนาจยุบสภาอำนาจพระราชทานอภัยโทษ เป็นต้น
3 ธรรมเนียมปฏิบัติ (Conventions Law)
คือ กรอบการประพฤติปฏิบัติเชิงรัฐธรรมนูญที่มีมาเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่ถือเป็นกฎหมาย ไม่สามารถฟ้องร้องต่อศาลได้ ธรรมเนียมปฏิบัติในทางรัฐธรรมนูญอาจแบ่งออกได้เป็น (1) ธรรมเนียมเกี่ยวกับการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบบคณะรัฐมนตรี ที่สำคัญ อย่างเช่น พระราชดำรัสที่พระมหากษัตริย์ทรงอ่านในพิธีเปิดรัฐสภาตามที่สภาสามัญเป็นผู้เขียนขึ้นทูลเกล้า ถือเป็นการแถลงนโยบายของรัฐบาลใหม่ รวมถึง ธรรมเนียมปฏิบัติที่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงยับยั้งร่างกฎหมายที่ผ่านเห็นชอบของรัฐสภาอย่างถูกต้องตามขั้นตอนสภาแล้ว






การเมืองการปกครองของประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นประมุข แต่มีรัฐสภาเป็นสถาบันสูงสุดของรัฐ มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าของคณะรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีได้รับเลือกจากสมาชิกรัฐสภา นอกจากนี้ตามรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นฉบับที่ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) หรือฉบับปัจจุบันได้มีการบัญญัติไว้ว่าสมเด็จพระจักรพรรดิทรงเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ มิใช่องค์ประมุขและไม่มีอำนาจในการบริหารประเทศ
รัฐสภา (国会, คกไก) ประกอบด้วย 2 สภา คือ
สภาผู้แทนราษฎร (衆議院, ชูงิอิง) มีสมาชิก 480 คน มาจากการเลือกตั้งทั่วประเทศ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี และ
วุฒิสภา (参議院, ซังงิอิง) มีสมาชิก 242 คน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี โดยเลือกตั้งจำนวนครึ่งหนึ่งสลับกันไปทุก 3 ปี
พรรคการเมืองได้แก่
พรรคเสรีประชาธิปไตย (自由民主党) เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
294 ที่นั่ง (สตรี 26 คน) ในวุฒิสภา 111 ที่นั่ง (สตรี 12 คน) หัวหน้าพรรคคือนายยาซุโอะ ฟุคุดะ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พรรคโคเมโตใหม่ (公明党) เป็นพรรคร่วมรัฐบาล มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 31 ที่นั่ง (สตรี 4 คน) ในวุฒิสภา
24 ที่นั่ง (สตรี 5 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอะกิฮิโระ โอตะ
พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Democratic Party of Japan: DPJ : Minshuto) แกนนำฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 113 ที่นั่ง (สตรี 10 คน) ในวุฒิสภา 82 ที่นั่ง (สตรี 11 คน) หัวหน้าพรรคคือนายอิจิโร โอะซะวะ
พรรคสังคมประชาธิปไตยญี่ปุ่น (Social Democratic Party of Japan : SDP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่ง
ในสภาผู้แทนราษฎร 7 ที่นั่ง (สตรี 2 คน) ในวุฒิสภา 6 ที่นั่ง (สตรี 1 คน) หัวหน้าพรรคคือนางมิซุโฮะ ฟุคุชิมะ
พรรคคอมมิวนิสต์ (Japan Communist Party - JCP) เป็นพรรคฝ่ายค้าน มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร 9 ที่นั่ง (สตรี
2 คน) ในวุฒิสภา 9 ที่นั่ง (สตรี 3 คน) หัวหน้าพรรคคือนายคะซุโอะ ชิอิ


การเมืองการปกครองของประเทศอิหร่าน

ประเทศอิหร่าน (ภาษาเปอร์เซีย: Īrān, ایران) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478 ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย (Persia)
อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับ
ปากีสถาน (909 กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน (1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน (500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500 กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานในปี พ.ศ. 2522 การปฏิวัตินำโดยอายะตุลลอห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวีที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลามเทวาธิปไตย (theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (Islamic Republic of Iran, جمهوری اسلامی ایران)

การเมือง
ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) กำหนดให้อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้
ประมุขสูงสุด (Rahbar)
ประมุขสูงสุดของอิหร่านคนปัจจุบันคือ
อาลี คาเมเนอี (เกิดเมื่อ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2482) เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร
ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor)
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้
รองประธานาธิบดี
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจาก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis)ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร

การเมืองการปกครองของประเทศจีน

ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี



การเมืองการปกครองของประเทศสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกา (United States of America) เป็นสหพันธรัฐประชาธิปไตย ปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ ประกอบไปด้วยมลรัฐ 50 มลรัฐ ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ มีพรมแดนต่อกับประเทศแคนาดาและเม็กซิโก ส่วนพรมแดนทางทะเลนั้นติดต่อกับประเทศแคนาดา รัสเซียและบาฮามาส โดยมีมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลแบริง มหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแอตแลนติก อ่าวเม็กซิโก และทะเลแคริบเบียนเป็นผืนน้ำล้อมรอบ

โครงสร้างทางการเมืองการปกครอง
มีรูปแบบการปกครองแบบ
สหพันธรัฐ ( Federal Republic) แบ่งอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ละฝ่ายได้รับเลือกในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป จึงมีการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (checks and balances) ประกอบด้วยพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรค คือ พรรครีพับลิกัน (Republican) และพรรคเดโมแครต (Democrat) ดังนี้
ฝ่ายบริหาร มี
ประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขและเป็นหัวหน้ารัฐบาล (Chief of Executive) ได้รับเลือกจากการเลือกตั้งทั่วไป ร่วมกับรองประธานาธิบดีทุก 4 ปี ในวันอังคารแรกหลังวันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน ประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งผ่านคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) จำนวน 538 คน ดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 สมัย สมัยละ 4 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ร่างรัฐบัญญัติต่อรัฐสภา และทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้ทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ตลอดจนแต่งตั้งผู้พิพากษาเอกอัครราชทูตและตำแหน่งต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารตั้งแต่ระดับรองผู้ช่วยรัฐมนตรี (Deputy Assistant Secretary) ขึ้นไป
ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ
วุฒิสภา มีสมาชิกจากแต่ละมลรัฐ มลรัฐละ 2 คน รวมเป็น 100 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 6 ปี โดยสมาชิกจำนวน 1 ใน 3 ครบวาระทุก 2 ปี วุฒิสภามีอำนาจให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบต่อบุคคลที่ประธานาธิบดีเสนอขอแต่งตั้ง รวมทั้งคณะรัฐมนตรี และให้สัตยาบันสนธิสัญญา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (President of the Senate)
สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 435 คน แบ่งตามสัดส่วนของประชากรในมลรัฐ คือ ประชากร 575,000 คน ต่อ สมาชิก 1 คน ดำรงตำแหน่งสมัยละ 2 ปี ประธานสภา (Speaker of the House)
ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย
ศาลชั้นต้น (Curcuit Court) ศาลอุทรณ์ (Appeal Court) และศาลฎีกา (Supreme Court) ศาลฎีกามีอำนาจที่จะล้มเลิกกฎหมายใด ๆ และการปฏิบัติการของฝ่ายบริหารที่ได้วินิจฉัยแล้วว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ ในการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลฎีกานั้น ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง โดยศาลสูงของสหพันธ์มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ซึ่งตำรงตำแหน่งได้โดยไม่มีการกำหนดวาระ โดยประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อและวุฒิสภาเป็นผู้ให้การรับรอง
สิทธิในการเลือกตั้ง : อายุ 18 ปีขึ้นไป


การเมืองการปกครองของประเทศอินเดีย


ประมุขแห่งรัฐ นางประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล (प्रतिभा पाटिल Pratibha Devisingh Patil)
ประธานราชยสภา (หรือ วุฒิสภา) นายกฤษาณ กันต์ (Krishan Kant) รองประธานาธิบดี ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง
ประธานสภาผู้แทนราษฎร (หรือ โลกสภา) นายคานตี โมหัน พลโยคี (Ganti Mohana Balayogi) (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999)
นายกรัฐมนตรี นายมันโมหัน สิงห์ (Manmohan Singh)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชสวันต์ สิงห์ (Jaswant Singh), เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1999
โครงสร้างการปกครอง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยราชยสภา (Rajya Sabha) หรือวุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 245 คน สมาชิกส่วนใหญ่ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และโลกสภา (Lok Sabha) หรือสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา
ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาประจำศาลฎีกามีจำนวนไม่เกิน 25 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ระดับรัฐมีศาลสูงเป็นศาลสูงสุดของแต่ละรัฐ รองลงมาเป็นศาลบริวาร (Subordinate Courts) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
การปกครอง ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอำนาจ การปกครองแบ่งเป็นรัฐต่าง ๆ 25 รัฐ และดินแดนสหภาพของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต ขณะนี้ (มกราคม 2544) โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐบัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตติสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตรานจัล (Uttaranchal) และรัฐฌาร์ขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ
การเมืองภายใน
อินเดียมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นสมัยที่ 13 เมื่อวันที่ 5 กันยายน - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนของนายกรัฐมนตรี อตล เพหารี วัชปายี (Atal Behari Vajpayee) ได้แพ้การพิสูจน์เสียงข้างมาก (Vote of Confidence) ในโลกสภาเพียง 1 เสียง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 เนื่องจากพรรค All India Anna Dravida Munnetra Kazagham (AIADMK) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ประกาศถอนการสนับสนุนรัฐบาลผสมของนายวัชปายี อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายวัชปายี ผู้นำพรรคภารติยชนตะ (Bharatiya Janata Party : BJP) ซึ่งร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ อีก 25 พรรค ในนามพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance : NDA) ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ส่งผลให้นายวัชปายีเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียอีกสมัย โดยได้กระทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542 มีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) อินเดีย ทั้งสิ้น 296 เสียง จากจำนวนเสียงทั้งหมด 543 เสียง ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันของอินเดียเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก ซึ่งนับว่ามีฐานเสียงแข็งแกร่งกว่าเดิม (ครั้งที่แล้ว พรรค BJP และพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยด้วยคะแนนเสียง 264 เสียง) ส่วนพรรคคองเกรส และพรรคพันธมิตรได้รับคะแนนเสียงเพียง 133 เสียงเท่านั้น (พรรคคองเกรสพรรคเดียวได้ 112 เสียง) ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนเสียงที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปีของประวัติศาสตร์การเมืองของพรรคคองเกรส ส่งผลให้พรรคคองเกรสและพันธมิตรเป็นพรรคฝ่ายค้าน



Name: Mr. Teesis Vaewchinda ID: 513-1601-354
Name: Mr. Chanchai Punyaphet ID: 513-1601-299
Name: Mr. Jiranuwat Thipkaew ID: 513-1601-274
Name: Mr. Vuttipoom Lersviriyajitt ID: 513-1601-495
Name: Miss.Penrat Sattawatcharawed ID: 503-1205-237
Name: Miss. Sutinee Phetyu ID: 513-1601-542
Name: Miss. Jiranan Tamnu ID: 513-1601-271
Name: Miss. Phantira Prakainree ID: 513-1601-443
Name: Miss.Varatchaya Saokham ID: 513-1601-473

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

นาทีต่อนาที พันธมิตรปฎิบัติการทั่วประเทศ










วันนี้ (29 สิงหาคม) เมื่อเวลา 09.45 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมพันนาย ได้ฝ่าแนวรั้วของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ตั้งด่านสกัด บริเวณสำนักงาน สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ กับ บช.น. เข้ามาประชิดกับแนวรั้วของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกมิสกวัน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้มีการนำกระบองตีเกราะ พร้อมทั้งโห่ร้องสร้างความตกใจให้เจ้าหน้าที่และข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างมาก ทำให้ข้าราชการต่างวิ่งกรูกันขึ้นไปบนดาดฟ้าของอาคาร สพฐ. เพื่อสังเกตการณ์และปรบมือโห่ร้อง โดยบอกว่า อย่าทะเลาะกัน อย่าตีกัน ขณะที่กลุ่มพันธมิตรฯ ได้มีการกำลังน้ำดื่มที่มีผู้บริจาคมากองกั้นเป็นกำแพง เพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ อยู่ห่างจากผู้ชุมนุมเพียง 100 เมตร

ด้านพลตรีจำลอง ศรีเมือง พร้อมแกนนำพันธมิตรฯ มีท่าทีเคร่งเครียด ขึ้นเวทีกระตุ้นผู้ชุมนุมเคลื่อนเข้าสมทบภายในบริเวณทำเนียบรัฐบาล ในเต็นท์สีน้ำเงินที่รายล้อมแกนนำอยู่ เพื่อป้องกันการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยด่วน ขณะที่ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ยังได้สั่งให้หน่วยรักษาความปลอดภัยเตรียมรับการจู่โจมในทุกด้าน และนอกจากนี้ พิธีกรบนเวที ยังได้แจ้งข่าวศาลแพ่งรับอุทธรณ์ คำสั่งทุเลาบังคับคดี ให้ผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบ และทีมทนายยังเตรียมยื่นถอนหมายจับในช่วงบ่ายด้วย

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ยังไม่มีความชัดเจนนี้ แกนนำพันธมิตร ยังกระตุ้นให้ผู้ชุมนุมปิดล้อมรถเวทีเพื่อมิให้เจ้าหน้าที่เข้ายึดและจับกุมแกนนำ เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายกองร้อย พร้อมด้วยหน่วยอินทราช และตำรวจตระเวนชายแดน พร้อมโล่และกระบอง กว่า 2 พันนาย ที่ประจำการ อยู่ที่กองทัพภาคที่ 1 บุกเข้าทำเนียบรัฐบาล ฝั่งประตู 5 โดยผู้ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่อยู่บริเวณ ถนนราชดำเนินรอบทำเนียบรัฐบาล ไม่ทันตั้งตัว สร้างความมึนงงให้กับผู้ชุมนุม เข้าด่าทอเจ้าหน้าที่และเอาน้ำสาด แต่ไม่มีเหตุปะทะเกิดขึ้น ซึ่งหลังจากกำลังตำรวจตระเวนชายแดน ได้เข้าไปภายในทำเนียบฯ ทั้งหมดแล้ว ได้มีกำลังเสริมของ เจ้าหน้าที่ตำรวจอีก1 กองร้อย ปิดประตูทำเนียบฯ ฝั่งประตู 5 ทันที และป้องกันอยู่ภายนอก ไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปสมทบภายในทำเนียบฯ โดยมีการแจกหมายบังคับคดีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ที่มีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ทำเนียบฯ ให้กับผู้ชุมนุมรับทราบ

เจ้าพนักงานบังคับคดี เข้าปิดหมายบังคับของศาล บริเวณแยกมิสกวัน โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ กว่า 150 นาย ติดโล่และกระบองเข้าทลายแผงเหล็กกั้นของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งบริเวณแยกมิสกวัน เป็นเต็นท์เก็บน้ำดื่มของกลุ่มพันธมิตรฯ ทำให้ขวดน้ำกระจัดการจายเกลื่อนพื้น ด้าน พันธมิตรฯ พยายามขัดขวางนั่งลงกับพื้น เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผ่านเข้ามาได้ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็พยายามฝ่าวงล้อมเข้ามาด้านในแยกสวนมิสกวันได้ ทั้งนี้ ระหว่างที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ดำเนินการปิดประกาศศาล กลางเต็นท์เพื่อมีการรื้อถอนตามคำสั่งของศาลนั้น มีผู้ชุมนุมมายืนต่อว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า ทำร้ายประชาชน เนื่องจาก มีผู้ชุมนุมผู้หญิงอ้างว่า ถูกตำรวจใช้กระบองตีแขนจนบวม รวมถึง มีคนหัวแตกด้วย

ทั้งนี้ หลังปิดประกาศศาลแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังคงตรึงกำลังอยู่ตามจุดต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย รวมถึง มีการนำรถขยายเสียงเปิดเพลงมาร์ชของตำรวจ ขับวนโดยรอบ ซึ่ง พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 เดินทางมาสังเกตการณ์ด้วย

20.56 น. พรรคประชาธิปัตย์ จับมือพันธมิตรตรัง จัดชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัด เพื่อกดดันให้รัฐบาลลาออก
20.54 น. พันธมิตรจันทบุรี กว่า 500 คน รวมตัวขึ้นรถบัสมาร่วมการชุมนุมที่ทำเรียบรัฐบาล หลังไม่พอใจที่ ตำรวจใช้กำลังกับประชาชน
20.50 น. พันธมิตรสงขลา ยังปักหลักปิดสนามบินหาดใหญ่ พร้อมเตรียมประกาศท่าที ว่าจะยกเลิกการชุมนุมหรือไม่ ในเวลา 21.00 น.
20.19 น. รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล "พล.ต.ต.สุพร พันธุ์เสือ" ไม่ได้ใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมม็อบพันธมิตร ที่ หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล
20.03 น. ประชาชนยังหลั่งไหลร่วมชุมนุมพันธมิตร โดยนักรบศรีวิชัยยังตรึงกำลังเข้มในทำเนียบรัฐบาลขณะมีกระแสข่าวผู้ชุมนุมเตรียมเคลื่อนขบวนไปสถานีโทรทัศน์ เอ็นบีที
19.57 น. พันธมิตรฯ ถอยออกจากหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล หลังถูกเจ้าหน้าที่ยิงแก๊สน้ำตา และจุดปะทัดไล่ ทำให้ผู้บาดเจ็บหลายราย
19.53 น. กองสลากฯ ย้ายสถานที่ออกรางวัลงวดวันที่ 1 กันยายน ไปสโมสรนายทหารอากาศบางซื่อ หลังพันธมิตรชุมนุมยืดเยื้อทำให้ไม่สะดวก
19:51 น. ทหารตรวจเข้ม ปชช. ใช้เส้นทางลัดกองทัพอากาศดอนเมือง ทำจราจรติดขัดอย่างรุนแรง แนะประชาชนเลี่ยงเส้นทางวิภาวดีขาออก
19.40 น. ผู้ให้การสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ ทยอยเดินทางร่วมการชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตร บริเวณทำเนียบรัฐบาลอย่างไม่ขาดสาย ส่งผลให้ในเวลานี้ในบริเวณพื้นที่ชุมนุม เนืองแน่นไปด้วยประชาชนเป็นจำนวนมาก
19.38 น. ศาลอาญายกคำร้อง พันธมิตร ขอให้เพิกถอนหมายจับ 9 แกนนำ ชี้หากไม่ผิดจริง ให้ไปพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม
19.22 น. ตำรวจที่ตรึงกำลังอยู่บริเวณด้านในกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประทัดและแก๊สน้ำตาโยนใส่ผู้ชุมนุมจำนวนหลายนัด ซึ่งเสียงประทัดทำให้ผู้ชุมนุมแตกกระเจิงออกจากหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลทันที
19.07 น. ทัพ พธม. หน้าบัญชาการตำรวจนครบาล เจอประทัด,แก๊สน้ำตาไล่กระเจิง - โห่ร้องข่มขวัญ
18.27 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งระงับการบังคับคดี หลังพันธมิตรยื่นคำร้องคัดค้าน ระบุตำรวจอาศัยอำนาจศาลบุกตีประชาชน โดยศาลขอให้รอฟังคำสั่งจากศาลอุทธรณ์แทน
18.20 น. ประธานสหภาพฯ ขสมก. ระบุ พนักงานมีสิทธิ์ลาหยุดงานเข้าร่วมพันธมิตรได้ โวยรัฐจัดรถไปรับพันธมิตรกลับบ้านเสี่ยงถูกเผา พร้อมสั่งถอนออกจากสนามม้านางเลิ้งแล้ว
18.15 น. ตำรวจยอมถอนกำลัง 7 กองร้อย ออกจากสนามม้านางเลิ้ง หลังแกนนำพันธมิตรรุ่น 2 ศิริชัย ไม้งาม นำผู้ชุมนุม 2 พัน - 3 พันคน ปิดล้อมกดดันเนื่องจากเป็นชุดที่ทำร้ายประชาชน
17.48 น. เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เผยสหภาพฯหลายแห่ง พร้อมใจหยุดงานหลัง รัฐบาลทำร้ายประชาชน ขณะ รถ ขสมก. ดีเดย์หยุดงาน 6 โมงเย็นวันนี้
17.42 น. ตำรวจ 3 กองร้อยพร้อมโล่ห์และกระบองตั้งแถว หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล เผชิญหน้าม็อบพันธมิตรที่ยกพลมาข่มขู่ พร้อมปิดประตูทางเข้าทุกแห่งเพื่อความปลอดภัย
17.36 น. ท่าอากาศยานภูเก็ต ประกาศหยุดให้บริการชั่วคราว เพื่อความปลอดภัย หลังถูกพันธมิตรบุกยึด ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องแบกสัมภาระปีนข้ามกำแพง เข้าสนามบินอย่างทุลักทุเล
17.30 น. นายกสมาคมการท่องเที่ยว จ.กระบี่ เชื่อการชุมนุมปิดสนามบินในพื้นที่ส่งผลกระทบกับ 2 เที่ยวบิน และธุรกิจท่องเที่ยวในภาพรวม แต่จะไม่เกิดความรุนแรงในเรื่องการกระทบกระทั่งกันกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
17.25 น. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ออกแถลงการณ์ เรียกร้องรัฐบาลทบทวนตัวเอง ถึงความชอบธรรมในการบริหารประเทศ หลังมีประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่อง
17.15 น. ตำรวจเชียงใหม่ ตรึงกำลังเข้มรอบสนามบินเชียงใหม่ หลังมีกระแสข่าวพันธมิตรฯ เตรียมบุกยึด
17.10 น. แพทย์ประจำตัวหลวงพ่อคูณ นำคณะหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา กว่าร้อยคน รวมตัวประท้วงกลางโรงพยาบาลเรียกร้องให้ นายกรัฐมนตรีลาออก หลังใช้ความรุนแรงสลายม็อบ
16.59 น. นักท่องเที่ยวตกค้างที่สนามบินหาดใหญ่จำนวนมาก หลังมีการประกาศยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดในวันนี้ จากเหตุพันธมิตรฯ ยกกำลังพลนับพันเข้ายึด
16.55 น. สหภาพการบินไทย แจ้งสิทธิ์สมาชิก ลาป่วยได้ 2 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์เข้าร่วมพันธมิตร ชี้รัฐบาลทำร้ายประชาชนขาดความชอบธรรมบริหารประเทศแล้ว
16.50 น. ผบ.ทบ. ยืนยันไม่มีปฏิวัติ แนะนำสองฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน เชื่อหากผู้ชุมนุมฟังศาลเรื่องคลี่คลายได้
16.34 น. ผบช.น. เผยถอยกำลังตำรวจจากทุกจุดจากทำเนียบฯ แล้ว ชี้การถูกพันธมิตรฯ ยึดพื้นที่คืนไม่เสียหน้า
16.30 น. พันธมิตรฯ ยึดพื้นที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์กลับคืนจากตำรวจได้แล้ว ขณะตำรวจยอมถอยออกจากพื้นที่ในทำเนียบรัฐบาลด้วยเช่นกัน
16.27 น. นักท่องเที่ยวต่างชาติ ตกค้างที่สนามบินภูเก็ตจำนวนมาก ลั่นจะกลับไปบอกเพื่อนๆ ไม่ให้กลับมาประเทศไทยอีก หลังต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์กลุ่มพันธมิตรฯ ส่งกำลังบุกยึด
16.25 น. ทนายความสำนักนายก ยื่นร้องศาลแพ่งขอให้ศาลบังคับคดีต่อเนื่อง จัดการม็อบพันธมิตรฯ หวั่นแกนนำตีความกฎหมายแบบศรีธนชัยปิดจราจรแค่เช้าถึงเย็นเท่านั้น
16.23 น. พนักงานสอบสวน ยืนยันไม่ตั้งข้อหากบฎ 82 พันธมิตรฯ ที่บุกรุกเอ็นบีที พร้อมระบุผู้ต้องหาสามารถต่อสู้กรณีตำรวจใส่ความเรื่องมีอาวุธได้
16.19 น. พันธมิตรฯ กว่า 300 คน ปีนกำแพงรั้วบุกเข้าไปภายในอาคารสนามบินกระบี่ ทำนักท่องเที่ยวต่างชาติตื่นตระหนก ล่าสุดทางจังหวัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าคุมสถานการณ์แล้ว
16.15 น. แกนนำพันธมิตรฯ ประกาศให้ส่งตัวตำรวจมาลงโทษ กล่าวหาทำร้ายประชาชนพร้อมประกาศปิดล้อม สตช. และ บช.น.
16.11 น. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สั่งถอนกำลังตำรวจออกนอกทำเนียบฯ หลังถูกพันธมิตรกล่าวหาทำร้ายประชาชนจากเหตุปะทะ ขณะเจ้าพนักงานบังคับคดีนำหมายศาลไปติดประกาศ
16.00 น. รสนา ส.ว.กรุงเทพฯ นำภาพที่อ้างว่าเป็นภาพตำรวจใช้ปืนจี้ศีรษะผู้ชุมนุม เข้าร้องเรียนต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมยอมรับผู้ชุมนุมอาจทำใม่ถูกต้อง
15.55 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ถ่ายภาพความเสียหาย บริเวณเวทีสะพานมัฆวานรังสรรค์ไว้เป็นหลักฐาน ขณะอีกกลุ่มชุมนุมกดดันด้านหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล หลังตำรวจใช้ความรุนแรง
15.51 น. หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์นำทีม ส.ส. เข้าพบผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ วอนไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับพันธมิตรฯ พร้อมฝากนายกฯ ทำให้ได้อย่างที่พูด
15.48 น. ประชาชนทยอยเข้าสบทบพันธมิตรฯ จนเต็มทำเนียบฯ ขณะ สมศักดิ์ โกศัยสุข สั่ง รปภ. ล้อมรถตำรวจกฎดันให้ปล่อยผู้ชุมนุมที่ถูกจับ
15.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สนามบินหาดใหญ่เครื่องบิน ยังขึ้นลงตามปกติ แม้ม็อบพันมิตรฯ จะปิดทางเข้า-ออกสนามบินก็ตาม
15.30 น. ตำรวจตรึงกำลังเข้มรอบสนามบินกระบี่ หลังพันธมิตรกว่า 300 คน พยายามปิดกั้นถนนบริเวณโดยรอบ
15.18 น. รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. ยันสนามบินภูเก็ต - หาดใหญ่ เครื่องบินยังบินขึ้นลงปกติ ผู้โดยสารไม่ตกค้าง
15.12 น. พันธมิตรแห่สมทบกำลังปิดสนามบินภูเก็ต กว่าพันคนแล้ว ขณะที่บรรดานักท่องเที่ยวเดือดร้อนหนัก ต้องจอดรถข้างทางแล้วลากกระเป๋าเข้าสนามบินแทน
15.10 น. อภิสิทธิ์ นำทีม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ลงพื้นที่ดูการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ย้ำ ไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องใช้ความรุนแรง
15.03 น. พบกระเป๋าต้องสงสัย ถูกนำมาวางบริเวณสะพานมัฆวาน ล่าสุดกลุ่มพันธมิตรฯ หวั่นเป็นระเบิด สั่งการ์ดกันพื้นที่ รอตำรวจเข้าตรวจสอบ
14.50 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ใช้รถบรรทุก 6 ล้อ เป็นด่านหน้า ซิ่งฝ่าแนวกั้นตำรวจ เข้าชิงพื้นที่บริเวณเชิงมัฆวานรังสรรค์ ได้อีกครั้ง
14.46 น. กลุ่มพันธมิตรสงขลา เตรียมตั้งเวทีปราศรัยหลังยกพลปิดทางเข้า-ออกภายในสนามหาดใหญ่แล้ว ท่ามกลางการคุมเข้มของ เจ้าหน้าที่นับร้อยนาย
14.30 น. พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี ระบุ ได้มีการพูดคุยกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตร ถึงการเคลื่อนไหวของทางกลุ่ม แต่ขณะนี้ตนเองยังไม่ได้มีการเข้าร่วม ส่วนการปิดสนามบินทั่วประเทศไม่ทราบมาก่อน
14.20 น. พล.อ.ปฐมพงษ์ โผล่สะพานมัฆวานรังสรรค์ รับไม่ได้เหตุการณ์ทำร้ายประชาชน เรียกร้องรัฐบาลใช้หลักเจรจาอย่าใช้ความรุนแรง
14.14 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ภูเก็ต พร้อมกลุ่มสหภาพแรงงานนับร้อยคน ชุมนุมปิดทางเข้า-ออก ท่าอากาศยานสนามบินนานาชาติแล้ว ท่ามกลางการคุมเข้มของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
13.54 น. กลุ่มสมาชิกวุฒิสภากว่าสี่สิบคน เข้าให้กำลังใจผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล หลังเสร็จสิ้นการประชุม
13.49 น. บรรยากาศทำเนียบรัฐบาล ด้านกระทรวงศึกษาธิการ เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าควบคุมสถานการณ์ พร้อมผลักดันผู้ชุมนุมออกจากพื้นที่ถนนราชดำเนินนอกได้แล้ว
13.45 น. พันมิตรฯ สงขลา เริ่มรวมตัวเคลื่อนไหว หลังทราบข่าวตำรวจพยายามเข้าไปสลายการชุมนุมในทำเนียบ ขู่ปิดสนามบินหาดใหญ่ หากพันธมิตรฯ ส่วนกลางถูกสลายการชุมนุม
13.42 น. พันธมิตรภูเก็ต ทยอยรวมตัวยกพลปิดถนนทางเข้า-ออก ท่าอากาศยานนานาชาติแล้ว หลังเจ้าหน้าที่นำกำลังเข้าสลายและทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมใหญ่กรุงเทพฯ
13.39 น. ตำรวจตรึงกำลังบริเวณแยกสวนมิสกวัน ถนนราชดำเนินนอก พร้อมดูแลกลุ่มผู้ชุมนุมกว่า 200 คน ที่ยังนั่งปักหลัก หลังเข้าเคลียร์พื้นที่ได้ ขณะยังมีผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งอยู่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
13.30 น. อธิบดีกรมบังคับคดี ยันต้องรื้อถอนเวทีการชุมนุมออกจากทำเนียบฯ เนื่องจากศาลยังไม่มีคำสั่งอื่นใด แม้จะรับคำร้องพันธมิตรฯ ไปแล้ว
13.20 น. แกนนำพันธมิตรฯ รุ่น1 และ2 หมุนเวียนขึ้นเวทีปลุกระดมมวลชนต่อเนื่อง "ศิริชัย ไม้งาม" เรียกร้อง สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจทั่วประเทศหยุดงาน เดินทางเข้าร่วม
12.58 น. รองโฆษกตำรวจ พลตำรวจตรี สุรพล ทวนทอง แจง เหตุรุนแรงที่ทำเนียบไม่ใช่การสลายการชุมนุม แต่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาล ยันยังไม่จำเป็นต้องขอกำลังทหาร
12.48 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจนำรถขยายเสียงออกประกาศเปิดเส้นทางประตู 7 ทำเนียบรัฐบาลให้ผู้ชุมนุมเดินออกจากทำเนียบรัฐบาลได้ ขณะที่ยืนยันเตรียมเปิดการจราจรบนถนนราชดำเนินแล้ว
12.40 น. นายกรัฐมนตรียืนยัน เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติการตามคำสั่งการของตนเอง ย้ำการเข้าเคลียร์พื้นที่เป็นไปตามคำสั่งศาล ขณะที่ไม่ยืนยันจะเข้าจับกุมแกนนำพันธมิตรฯ ในวันนี้ด้วยเลยหรือไม่
12.35 น. ตำรวจปะทะกลุ่มผู้ชุมนุม บริเวณเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์อีกระลอก หลังพยายามจะเข้ามายึดพื้นที่คืน 11.45 น. แกนนำพันธมิตรฯ ผลัดกันขึ้นเวทีปลุกใจผู้ชุมนุม พร้อมแจกหน้ากากป้องกันแก๊สน้ำตา และซักซอมแผนหากถูกสลาย 11.41 น. ตำรวจปราบจลาจล ปะทะผู้ชุมนุม บุกเข้ารื้อแผงเหล็กกั้น และเวทีพันธมิตรเชิงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว พร้อมตรวจค้นหลังเวที พบ ใบกระท่อม กระสุนปืน อาวุธมีด และไม้กอล์ฟ เป็นจำนวนมาก
11.40 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าควบคุมสถานการณ์ชลมุน บริเวณประตู 5 ทำเนียบรัฐบาลได้แล้ว วอน พันธมิตรฯ ออกจากพื้นที่โดยเร็ว
11.30 น. ตำรวจ 5 กองร้อย ปิดล้อมทางเข้าทำเนียบรับบาลฝั่งสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ประจันกับการ์ดพันธมิตรฯ

11.10 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรล่าสุด เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการรื้อแผงเหล็ก ที่กั้นบริเวณเวทีปราศรัยของกลุ่มพันธมิตร ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว โดยยกแผงเหล็กกั้นหั้งหมดออกไปพร้อมนำกำลังเจ้าหน้าที่มายืนขวางแทน และสั่งห้ามประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาในพื้นที่เด็ดขาด อย่างไรก็ตาม หลังมีกระแสข่าวว่า ขณะที่เจ้าหน้าที่หน่วยอลินทราชฝ่าด้านล้อมของกลุ่มพันธมิตรเข้าไปภายในทำเนียบรัฐบาล ช่วงประตู 5 นั้น มีการยิงแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม พล.ต.ต สุรพล ทวนทอง รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่า ไม่มีการใช้แก๊สน้ำตาแน่นอนแต่เป็นควันของถังดับเพลิงที่กลุ่มพันธมิตร นำมาฉีดใส่เจ้าหน้าที่ ซึ่งขอยืนยันว่า เจ้าหน้าที่จะไม่ใช้ความรุนแรงและไม่มีการทำร้ายประชาชน ขณะที่ภายในทำเนียบรัฐบาล มีเจ้าหน้าที่ตรึงกำลังกว่า 2,000 นายแล้ว

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

พันธมิตรฯ ใกล้ถึงทางตัน ศาลสั่งไม่ทุเลาบังคับคดี

ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าหลังจาก นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เดินทางมาศาลแพ่งเพื่อยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่งให้ออกจากทำเนียบรัฐบาล พร้อมยื่นทุเลาบังคับคดี นั้น ล่าสุด ศาลแพ่งมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดี ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่รับคำร้องอุทธรณ์ไว้พิจารณา โดยจะนัดฟังคำสั่งอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า

ล่าสุดมีรายงานว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีประมาณ 5 คน เดินทางไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล คาดจะเข้าหารือกับ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูง และประสานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อรื้อถอนสิ่งก่อสร้างภายในทำเนียบรัฐบาล และย้ายผู้ชุมนุมตามคำสั่งบังคับคดี ขณะที่ตำรวจส่วนหนึ่งได้นำป้ายผ้าเขียนข้อความ "ห้ามเข้า ตามคำสั่งศาล ผู้ฝ่าฝืนมีโทษตามกฎหมาย" ไปติดตามแผงเหล็ก บริเวณโดยรอบทำเนียบรัฐบาล ด้านนายธงทอง จันทรางศุ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาการแทนปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีศาลแพ่งสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อบังคับกลุ่มพันธมิตรฯ ออกจากทำเนียบรัฐบาล ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีคงจะออกประกาศของกรมบังคับคดีไปปิดประกาศที่หน้าทำเนียบฯ ให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบฯ ทันที ตามคำสั่งของศาล ไม่ทันภายในเย็นวันนี้ "หากเจ้าพนักงานปิดประกาศแล้ว ผู้ชุมนุมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล ถ้ายังฝ่าฝืน สำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นโจทก์ ก็จะร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี จากนั้นเจ้าพนักงานฯ จะร้องต่อศาลแพ่ง ขอให้ออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ อีกครั้ง" นายธงทอง กล่าว

วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประมวลภาพ "บุกยึดทำเนียบรัฐบาล"







หลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย สามารถบุกยึดทำเนียบรัฐบาลไว้ได้ ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ของวันที่ 26 สิงหาคม ที่ผ่านมา ปรากฏว่า ตั้งแต่เวลา
03.00 น. ของวันที่ 27 สิงหาคม ได้เกิดเหตุความวุ่นวายขึ้น "คม ชัด ลึก" ลำดับเหตุการณ์ "ปฏิบัติการไทยคู่ฟ้า" นาทีต่อนาที
03.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล พร้อมด้วยตำรวจตระเวนชายแดน กว่า 1,000 นาย พังประตูบริเวณถนนด้านพิษณุโลก บุกเข้าทำเนียบรัฐบาล อ้างผลัดเปลี่ยนกำลัง จนปะทะกับการ์ดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีผู้บาดเจ็บนำส่ง รพ.วชิรพยาบาล
04.10 น. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตร ขึ้นเวที ประกาศเตือนกลุ่มผู้ชุมนุมให้ระวังตัว
07.20 น. พ.ต.ท.สุรทิน พิมานเมฆินทร์ ส.ส.อุดรธานี พรรคพลังประชาชน ปรากฏตัวในทำเนียบรัฐบาล การ์ดพันธมิตรนำตัวออกนอกทำเนียบ
08.00 น. รถเครื่องเสียงของกองทัพธรรม ถูกปล่อยลมยาง 2 ล้อ ถูกทุบไฟหน้าแตก และถูกกรีดรอบตัวรถ
08.00 น. แกนนำพันธมิตรทั้ง 5 คน ประชุมกำหนดท่าที หลังมีข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกหมายจับ
09.00 น. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย พร้อมด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. เรียกประชุมตำรวจนครบาล และผู้บัญชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประเมินสถานการณ์การเคลื่อนไหว
09.30 น. พล.ต.จำลอง ขึ้นเวทีประกาศแต่งตั้งแกนนำพันธมิตร รุ่นที่ 2 หาก 5 แกนนำถูกจับ
10.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม สภา วปอ.ที่กองบัญชาการกองทัพไทย ถ.แจ้งวัฒนะ
11.00 น. ที่กระทรวงมหาดไทย พล.ต.อ.โกวิท เรียกประชุมผู้ว่าราชการจังหวัด ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
13.30 น. นายเมธี ใจสมุทร ทนายความ รับมอบหมายจากสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ยื่นฟ้องแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้แก่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายพิภพ ธงไชย นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตร ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ขอให้ศาลสั่งให้จำเลยทั้งหกกับพวก ออกจากทำเนียบรัฐบาล
14.00 น. นายสุทธิชาติ อำมาตย์หิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักสถานที่และรักษาความปลอดภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เข้าพบ พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เสียหายในทำเนียบรัฐบาล ก่อนจะไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่ สน.ดุสิต
14.20 น. ส.ต.ท.จิรศักดิ์ เสียงใหญ่ สังกัด กก.4 บก.ส.3 บช.ส.เข้าร้องขอความเป็นธรรมต่อสื่อมวลชน บช.น. ระบุ ถูกกลุ่มพันธมิตรกักขังหน่วงเหนี่ยวภายในอาคารทำเนียบรัฐบาล ขณะนำอาหารไปส่งให้เพื่อนตำรวจที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้านใน
14.30 น. พล.ต.จำลองลงจากเวทีมานั่งอยู่ท่ามกลางกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
15.10 น. 7 ใน 9 แกนนำพันธมิตร ที่ถูกออกหมายจับมาพร้อมกันที่ทำเนียบรัฐบาล รอฟังคำสั่งศาลเกี่ยวกับการอนุมัติหมายจับ
15.40 น. พล.ต.อ.โกวิท แถลงที่ บช.น. ขอร้องครั้งสุดท้ายให้กลุ่มพันธมิตรออกจากทำเนียบรัฐบาล เนื่องจากต้องใช้พื้นที่จัดพิธีพระราชทานธงสัญลักษณ์โครงการ “จากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วัน สร้างสามัคคี” ในวันที่ 30 สิงหาคม
16.00 น. ศาลอาญา มีคำสั่งอนุมัติให้ออกหมายจับแกนนำพันธมิตร จำนวน 9 คน ได้แก่ 1.นายสนธิ ลิ้มทองกุล 2.นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ 3.พล.ต.จำลอง ศรีเมือง 4.นายสมศักดิ์ โกศัยสุข 5.นายพิภพ ธงไชย 6.นายสุริยะใส กตะศิลา 7.นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ 8.นายอมร อมรรัตนานนท์ และ 9.นายเทิดภูมิ ใจดี ตั้งข้อหากบฏ สะสมกำลังพล อาวุธ สมคบกันเป็นกบฏ ให้เลิกแล้วไม่เลิก เตรียมส่งหมายจับไปยัง สน.สุทธิสาร โดยระบุข้อหาว่ากระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 113 และ114 และกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 215 และ 216
16.20 น. พล.ต.จำลอง ประกาศว่าหากเกิดอะไรขึ้นกับแกนนำ ขอให้ทุกคนฟังคำสั่งของนายศิริชัย ไม้งาม นายสาวิทย์ แก้วหวาน และนายสำราญ รอดเพชร อย่าตกใจ แต่ขอให้ยึดพื้นที่ทำเนียบ เพราะถ้าทิ้งพื้นที่ตรงนี้แพ้แน่นอน
16.40 น. รถบรรทุกเจ้าหน้าที่ตำรวจจากสถานีตำรวจจังหวัดต่างๆ กว่า 20 คัน วิ่งผ่านลานพระบรมรูปทรงม้าเข้าไปยังกองบัญชาการตำรวจนครบาล และรถตู้กว่า 30 คัน วิ่งมาจอดยังลานพระบรมรูปทรงม้า โดยทุกคันเปิดไซเรนตลอดเวลา ขณะเดียวกันรถตำรวจทยอยมาสมทบเรื่อยๆ
16.50 น. กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรที่เป็นผู้หญิงยืนเกี่ยวแขนล้อมเป็นแนวกำแพงมนุษย์ บริเวณ ถ.พิษณุโลกฝั่งด้านหลังกองบัญชาการตำรวจนครบาล และฝั่ง ถ.ศรีอยุธยา หันหน้าไปทางพระบรมรูปทรงม้า เพื่อป้องกันตำรวจที่อาจจะเคลื่อนเข้ามาจับกุมแกนนำ 9 คน หลังทราบว่าศาลอนุมัติหมายจับ และเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจมายังบริเวณโดยรอบการชุมนุม
17.00 น. พล.ต.ท.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขู่ว่าหากเจรจาก่อนพระอาทิตย์ตกดินไม่สำเร็จจะใช้กำลังตำรวจหลายพันนาย เข้าไปเคลียร์กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบ
17.25 น. พันธมิตรจาก จ.เชียงใหม่ ประมาณ 1,000 คน เดินทางมาสมทบที่ทำเนียบ
18.20 น. พล.ต.จำลอง ปราศรัยว่า หากยึดพื้นที่อีก 4 วัน เชื่อว่าพันธมิตรจะได้รับชัยชนะ
20.25 น. กลุ่มพันธมิตรนำชายฉกรรจ์ 200 นาย ปิดล้อมรอบทำเนียบรัฐบาลทั้งหมด เนื่องจากมีรายงานข่าวว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตชด. พลร่มป่าหวาย เตรียมเข้าสลายการชุมนุม
20.00 น. ศาลแพ่งไต่สวนฉุกเฉินกรณีมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ฟ้องขับไล่กลุ่มพันธมิตรออกจากทำเนียบหรือไม่
22.00 น. ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยให้แกนนำและผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาลในทันที
22.07 น. องค์คณะผู้พิพากษาศาลแพ่ง ออกนั่งบังลังก์ และมีคำสั่งให้จำเลยทั้งเก้า กับพวก พาผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาล ให้รื้อถอนเวทีปราศรัย และให้ขนย้ายสิ่งกีดขวางที่อยู่ในทำเนียบ ออกจากพื้นที่ รวมทั้งให้เปิดพื้นที่ถนนพิษณุโลก และถนนราชดำเนิน โดยคำสั่งดังกล่าว ให้มีผลทันที
22.30 น. นายสำราญ รอดเพชร ประกาศว่าพันธมิตรจะปักหลักสู้ต่อ เพื่อให้บรรลุภารกิจ ไม่ใช่ไม่เคารพคำสั่งศาล และจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว

จำลอง วอน พันธมิตร อย่ากลับ หลังมีข่าวถูกจับ


เมื่อวานนี้ (27 สิงหาคม) หลังจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยทราบว่าศาลได้อนุมัติออกหมายจับ 9 แกนนำแน่นอนแล้ว นายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำคนสำคัญ ได้ขึ้นปราศรัยทันทีท่ามกลางสายฝนที่โปรยปรายลงมาอย่างหนัก โดยนายสนธิกล่าวว่า จะยอมให้จับ และจะไม่หนีไปไหน แต่ขอให้ประชาชนยึดทำเนียบรัฐบาลไว้ต่อไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขณะนี้รัฐบาลชั่วช้า กำลังจะฆ่าตัวเองแล้ว เราจะสู้ไม่ถอย จนกว่ารัฐบาลจะออกไป ทางด้านพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ก็ขึ้นกล่าวบนเวทีปราศรัยว่า ถ้าแกนนำถูกจับอย่าตกใจ ผมขอให้พี่น้องประชาชนใจเย็นๆ ไม่ว่าจะมีข่าวตำรวจเคลื่อนไปไหน เราก็จะอยู่ในนี้ ขออย่าได้ท้อถอย ตอนนี้อย่าหวังพึ่งใครนอกจากพึ่งประชาชนด้วยกัน ตำรวจจะมากี่คนไม่สนใจ จับแกนนำ 9 คน จับได้จับไป แล้วประชาชนจะออกมาเป็นหมื่นเป็นแสน ให้มันรู้ไป โทรทัศน์ช่องอื่นออกอากาศโจมตีเราอย่างกับผู้ร้าย อย่าไปสนใจช่างหัวมัน ผมเคยถูกจับติดคุกมาแล้ว ทั้งคุกตำรวจ และคุกทหาร ถ้าจะติดอีกซักทีจะเป็นไรไป ตำรวจมาจับผมเลย เรื่องไม่ต้องห่วงเรื่องเล็กมาก ผมชุมนุมมาแล้วตั้งแต่หนุ่มจนแก่ ขอให้พี่น้องใจเย็นๆ "วอนกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ให้เดินทางกลับบ้าน หากเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมแกนนำได้ ก็ไม่อยากให้ประชาชนติดตามไป เนื่องจากผู้ชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลจะน้อยลง ทำให้พ่ายแพ้ได้" พล.ต.จำลอง กล่าว ทั้งนี้ หลังการปราศรัยนายสนธิและพล.ต.จำลองลงจากเวทีไปที่เต็นท์กลางสนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า โดยนายสนธิได้ถอดเสื้อผ้าจนเหลือแต่กางเกงในเพียงตัวเดียว จากนั้นนำเสื้อสีเหลืองที่มีข้อความว่า "เราจะสู้เพื่อในหลวง" มาสวมใส่พร้อมกับกางเกงขาสั้น และสวมเสื้อกันฝนทับอีกชั้น จากนั้นทั้งสองคนได้นั่งลงท่ามกลางฝูงชน โดยมีประชาชนคล้องแขนตั้งเป็นเหมือนกำแพงมนุษย์ล้อมเอาไว้หลายชั้นเพื่อป้องกันความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวันนี้ (28 สิงหาคม) เวลาประมาณ 09.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจจะคุ้มกันเจ้าหน้าที่ศาลแพ่ง นำหมายศาลมายื่นให้กับแกนนำพันธมิตรฯ ในที่ชุมนุม กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พันธมิตรต้องออกจากทำเนียบรัฐบาล และเปิดการจราจรบนถนนทั้งหมดด้วย

พันธมิตร เตรียมยื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลไล่ออกทำเนียบ


พันธมิตร เตรียมเข้ายื่นอุทธรณ์ คำสั่งศาลแพ่งไล่ออกทำเนียบ แกนนำรุ่น 2 ระบุ ม็อบพันธมิตรฯ ปักหลักหน้าตึกไทยคู่ฟ้า เตรียมเข้ายื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่งให้ออกจากทำเนียบ (28 สิงหาคม) นายศิริชัย ไม้งาม แกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 กล่าวว่า ยืนยันทุกคนยังปักหลักหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ส่วนที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ย้ายออกจากทำเนียบฯนั้น เรามีมติชัดเจนจะอยู่ทำเนียบ เราคิดว่ากำลังทำหน้าที่ วันนี้ทนายจะเข้ายื่นอุทธรณ์ต่อศาลว่าเราชุมนุมโดยสงบ การเคารพศาลเราก็เคารพ แต่แกนนำชุดแรกเห็นว่าจำเป็นต้องยึดทำเนียบฯ ประเด็นไม่มีอะไร ถ้าคุณสมัครทำตามข้อเรียกร้องโดยการลาออก เพราะหมดความชอบธรรมในการบริหารบ้านเมือง จากที่ได้ประเมินคิดว่าคำสั่งศาลที่ออกหมายจับ 9 แกนนำ ทำให้มวลชนเห็นใจและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนล้นทำเนียบฯ เพราะข้อหากบฏเป็นข้อหาที่รุนแรงเกินไป ถือว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากตำรวจ ทั้งที่เราปกป้องผลประโยชน์ชาติ เป็นธรรมหรือไม่กับการที่ปกป้องชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ แต่เรายอมรับเป็นกบฏกู้ชาติ ทั้งนี้จากที่ดูประกาศทางเอ็นบีที มีนายอำเภอบอกว่ามีการระดมผู้นำท้องถิ่นทั่วประเทศไทยมาที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ส่วนที่รัฐบาลยืนยันจัดงาน 116 วันจากวันแม่ถึงวันพ่อนั้น ตนคิดว่าขณะนี้สถานที่ทำเนียบฯคงไม่เหมาะ หากจะปรับสภาพสนามคงไม่ทันวันเสาร์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯในช่วงเช้าวันนี้ (28 สิงหาคม) ผ่อนคลายมากขึ้น หลังจากที่ทั้งคืนได้ตรึงกำลังเพื่อเตรียมพร้อมการบุกจับกุม 9 แกนนำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยช่วงเช้ามืดกลุ่มผู้ชุมนุมต่างทยอยเดินทางกลับหลังจากเห็นว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้เข้าสลายการชุมนุมตามที่มีกระแสข่าวออกมา อย่างไรก็ตามในช่วงเช้าผู้ชุมนุมก็ได้ทำภารกิจส่วนตัวและพักผ่อนตามอัธยาศัย โดยเมื่อช่วงเช้ามืด พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯได้ขึ้นบนเวทีประกาศขอกำลังคนไปผลัดเปลี่ยนกับการ์ดที่เฝ้าระวังตลอดทั้งคืน พร้อมทั้งได้ประกาศจัดระเบียบความพร้อมในกลุ่มผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ชุมนุมได้เรียกร้องให้กทม.นำรถสุขามาให้บริการเพิ่มเติม เนื่องจากขณะนี้รถสุขามีไม่เพียงพอกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีเป็นจำนวนมาก ส่วนห้องสุขาที่มีอยู่ภายในอาคารต่างๆของทำเนียบรัฐบาลทั้งตึกบัญชาการหนึ่งและสองก็ไม่พอ และสกปรกมาก ทั้งนี้กลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้ายึดตึกบัญชาการสองทั้ง 5 ชั้น โดยได้งัดห้องน้ำและห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อน นอกจากนี้เนื่องจากฝนที่ตกลงมาช่วงเช้ามืดทำให้สนามหญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้าเฉอะแฉะจนผู้ชุมนุมไม่สามารถนั่งฟังปราศรัยได้ต้องมีการนำผ้าพลาสติกมาแจกเพื่อปูรองนั่ง นอกจากนี้ยังมีปัญหาขยะที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการเกณฑ์กลุ่มผู้ชุมนุมมาช่วยกันเก็บรวบรวมขยะเพื่อรอรถเก็บขยะมาขนออกไป ส่วนบรรยากาศรอบๆ ทำเนียบรัฐบาลทั้งต้นไม้ สนามหญ้าที่แต่เดิมมีการจัดไว้อย่างสวยงาม แต่หลังจากฝนตกวานนี้ทำให้ต้นไม้และสนามหญ้าได้รับความเสียหายทั้งหมด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เวลา 08.15 น. การ์ดของพันธมิตรฯ ได้จับชายวัยกลางคนคนหนึ่งออกจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่นั่งอยู่หน้าตึกบัญชาการหนึ่ง เนื่องจากชายคนดังกล่าวได้พูดกับเพื่อนผู้ชุมนุมว่าเคยเป็นตำรวจและจับคนร้ายมาก่อน เมื่อการ์ดได้ยินก็เข้าชาร์จตัวออกจากพื้นที่การชุมนุมและนำตัวไปสอบสวนภายนอกทำเนียบรัฐบาล โดยการ์ดได้กันไม่ให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพติดตามออกไปถ่ายภาพและทำข่าว

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

"หมัก" ยังไม่ยกเลิกพาสปอร์ต"ทักษิณ"


"หมัก" ยังไม่ยกเลิกพาสปอร์ตแดง อ้างยังไม่เจอรมว.บัวแก้ว "คนรักแม้ว" นัดรวมตัวล่าแสนชื่อป้อง "ทักษิณ" "สมัคร" บอกยังไม่ได้คุย "เตช" จึงไม่มีนโยบายยกเลิกพาสปอร์ตอดีตนายกฯ "บัวแก้ว" ทำหนังสือถามความเห็น ผบ.ตร. ด้านเจ้ากระทรวง แจง "ทักษิณ" ไม่ใช่บุคคลธรรมดาต้องให้ระดับนายกฯ ตัดสินใจ เสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ "ชมรมคนคิดถึงทักษิณ" นัดแสดงพลัง 24 สิงหาคมนี้ พร้อมล่าชื่อแสนคนร่วมปกป้อง ความคืบหน้าในการดำเนินคดีกับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ภริยา หลังหนีคดีไปอยู่ประเทศอังกฤษ รวมทั้งการยกเลิกหนังสือเดินทางเล่มสีแดง ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ "สมัคร" ยังไม่ยกเลิกพาสปอร์ต "แม้ว" รายงานข่าวแจ้งเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ว่า กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เพื่อถามความคิดเห็นเรื่องการพิจารณายกเลิกหนังสือเดินทางสีแดง ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ซึ่งเป็นไปตามระเบียบการพิจารณาของกระทรวง ที่ต้องถามความเห็นจากเจ้าพนักงานตำรวจด้วย เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาของกระทรวงการต่างประเทศ ด้าน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธยกเลิกหนังสือเดินทางเล่มสีแดง หรือ พาสปอร์ตทูตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หลังจากที่นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ออกมาระบุเรื่องนี้เป็นเรื่องระดับชาติ จึงเสนอให้นายกฯเป็นผู้ตัดสินใจ โดยนายสมัครกล่าวสั้นๆ ว่า "ยังไม่ได้พบกัน ก็เลยยังไม่มีนโยบาย" นายเตช กล่าวกรณีนายกฯบอกยังไม่ได้พบและหารือกันในเรื่องนี้ว่า หนังสือการขอให้นายกฯพิจารณายกเลิกพาสปอร์ตแดง เพิ่งจะส่งไปเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา ขณะนี้ต้องรอนายกฯบัญชามายังกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนต่อการยกเลิกพาสปอร์ตขึ้นกับนายกฯในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเพียงคนเดียวและต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้ถือเป็นวาระแห่งชาติ "เพราะคนที่เกี่ยวข้องเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรี ดังนั้น นายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้วินิจฉัย แต่ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ก็คงเป็นอำนาจการตัดสินใจของกระทรวงการต่างประเทศ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกฯ ไม่ได้เป็นคนธรรมดา" นายเตชกล่าว และว่า จะหารือเรื่องนี้กับนายกฯในการประชุม ครม. วันที่ 26 สิงหาคม ซึ่งนายกฯคงพิจารณาหนังสือของกระทรวงการต่างประเทศก่อนการประชุมแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่ารัฐบาลควรพิจารณาตามข้อเท็จจริง โดยปฏิบัติตามระเบียบ ไม่ต้องคำนึงว่าบุคคลที่พิจารณาอยู่เป็นใคร หากระเบียบบอกชัดเจนว่าบุคคลใดขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามในการถือหนังสือเดินทาง เรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศต้องมีความเห็นชัดเจนว่าเป็นอย่างไร โดยพิจารณาว่าสถานการณ์ปัจจุบันเข้ากับเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์นี้อย่างไร ใช้เว็บ "club thaksin" แก้ต่างแทน "แม้ว" อีกด้านหนึ่ง นายอัมรินทร์ ผจญยุทธ ประธานชมรมคนคิดถึงทักษิณ แถลงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ที่โรงแรมเอสดี อเวนิว ถนนปิ่นเกล้า ว่า ชมรมรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องเดินทางออกจากประเทศไทยอีกครั้ง เนื่องจากเหตุผลเรื่องความปลอดภัยและความยุติธรรม แต่สมาชิกในชมรมทุกคนยังเชื่อมั่นในความดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีต่อประเทศ และปฏิเสธที่จะยอมรับสิ่งใดๆ ที่กำเนิดมาจากรากเหง้าเผด็จการ โดยในวันที่ 24 สิงหาคมนี้ ทางชมรมจะจัดงานที่สวนจตุจักร เพื่อล่ารายชื่อประชาชน 100,000 คน ในการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ขณะเดียวกันก็จะรวมคนรักทักษิณให้ช่วยกันเขียนไปรษณียบัตรส่งไปยังสถานทูตอังกฤษ เพื่อขอให้รัฐบาลอังกฤษช่วยปกป้อง พ.ต.ท.ทักษิณ นายอัมรินทร์ กล่าวว่าที่ผ่านมาชมรมติดต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อขอใช้เว็บไซต์ club thaksin เป็นเวทีสื่อกลางในการติดต่อระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณในอังกฤษ กับประชาชนในประเทศไทย ซึ่งล่าสุดทางชมรมได้รับแจ้งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ว่า ยินดีให้ใช้เว็บไซต์นี้เป็นเวทีสื่อกลาง คาดว่าในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ต.ท.ทักษิณ จะชี้แจงผ่านทางคลิปวิดีโอ หรือเขียนบทความถึงสิ่งที่อยากจะพูดลงในเว็บไซต์นี้เป็นครั้งแรก โดยเว็บไซต์นี้จะทำหน้าที่ตอบโต้ และชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาแทน พ.ต.ท.ทักษิณที่ถูกโจมตีเรื่องต่างๆ ทางการเมืองด้วย ป.ป.ช.เชื่อศาลรับฟ้องแม้ไร้เงา "ทักษิณ" นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้สัมภาษณ์ กรณีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) อัยการและ ป.ป.ช. เตรียมหารือถึงกรณีการนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาดำเนินคดีในเมืองไทยว่า การนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับมาเมืองไทย ไม่ใช่หน้าที่ของ ป.ป.ช.โดยตรง แต่เป็นหน้าที่ของตำรวจ และอัยการ แต่ก็สามารถขอความเห็นมายัง ป.ป.ช.ได้ในฐานะเจ้าของคดี "แม้ไม่สามารถนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณกลับเมืองไทยได้ เพราะอาจมีปัญหาอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าศาลก็จะรับฟ้องคดีความต่างๆ ที่ส่งมาจาก ป.ป.ช.ไว้ก่อน จากนั้นเมื่อได้ตัวผู้ต้องหามาแล้ว จึงพิจารณาคดีในภายหลังได้" นายวิชากล่าว นายกฯเบอร์มิวดาชวน "แม้ว" ลี้ภัย นายเอวาร์ท เฟรเดอริค บราวน์ จูเนียร์ นายกรัฐมนตรีของเบอร์มิวดา ประเทศหมู่เกาะ ซึ่งมีเนื้อที่เพียง 53.3 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเพียง 66,163 คน ในแถบมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือ เปิดเผยว่า มีความยินดี หาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย จะมาขอลี้ภัยที่เบอร์มิวดา ส่วนตัวแล้วมีความชื่นชมอดีตนายกฯไทยเป็นอย่างมากจากผลงานในการบริหารประเทศไทยที่ผ่านมา นอกจากนั้น ยังเห็นใจ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ต้องถูกโค่นอำนาจ และต้องคดีความต่างๆ มากมาย "ผมเข้าใจดีว่า ความรู้สึกของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในเวลานี้จะเป็นเช่นไร เนื่องจากครอบครัวของเขาก็ไม่ได้ความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมเช่นเดียวกัน" นายเอวาร์ทกล่าว ข่าวระบุว่า เควิน บราวน์ ลูกชายนายเอวาร์ท มีอาชีพเป็นแพทย์ ถูกกล่าวหาว่าฉ้อโกงและล่วงละเมิดทางเพศต่อคนไข้สตรี ในขณะที่มัวริซ ลูกชายอีกคนของเขาต้องโทษจำคุกถึง 10 ปี หลังถูกกล่าวหาในข้อหาปล้นธนาคาร สำหรับเบอร์มิวดาได้ชื่อว่า เป็นดินแดนที่เป็นศูนย์กลางทางด้านการเงิน และธุรกิจโทรคมนาคมอีกแห่งหนึ่งในแถบแอตแลนติกตอนเหนือ นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของบรรดามหาเศรษฐีจากสหรัฐ แคนาดา และอังกฤษ มาช้านาน

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โดนแล้ว...ทักษิณ

หมายจับ! ทักษิณ - พจมาน ร่อนทั่วประเทศ


สตช. ออกหมายจับ “ทักษิณ – พจมาน” ร่อนทั่วประเทศ เร่งประสานอังกฤษส่งตัวฐานผู้ร้ายข้ามแดน เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พล.ต.ท. วัชรพล ประสารราชกิจ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แถลงว่า ขณะนี้กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ ประกาศหมายจับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย พร้อมกับคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา หลังจากที่ขัดคำสั่งศาลไม่มารายงานตัวระหว่างการพิจารณาคดีที่ทั้งสองตกเป็นผู้ต้องหา และแถลงลี้ภัยยังประเทศอังกฤษทั้งครอบครัว รายละเอียดหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ หมายจับเลขที่ 2/2551 ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลขคดีดำ 1/2550 เลขคดีแดง 1/2550 วันที่ออกหมาย 13 สิงหาคม 2551 ผู้ออกหมายนายทองหล่อ โฉมงาม ข้อหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐฯ, ปฏิบัติหรือละเว้นฯ, มาตรา4,100 และ122 ตามเลขคดีที่ - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันเดือนปีที่เกิดเหตุ 11 สิงหาคม 2551 ภายในอายุความ 15 ปี วันขาดอายุความ 12 สิงหาคม 2566 รายละเอียดหมาย คุณหญิงพจมาน หมายจับเลขที่ 3/2551 ศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เลขคดีดำ 1/2550 เลขคดีแดง 1/2550 วันที่ออกหมาย 13 สิงหาคม 2551 ผู้ออกหมายนายทองหล่อ โฉมงาม ข้อหา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ฯ ,และเป็นผู้สนับสนุนฯ, ,มาตรา4,100และ122 ตามเลขคดีที่ - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง วันเดือนปีที่เกิดเหตุ 11 สิงหาคม 2551 ภายในอายุความ 10 ปี วันขาดอายุความ 12 สิงหาคม 2561 จึงขอประกาศให้ทราบทั่วกันและให้ทุกหน่วยงานช่วยติดตามสืบจับ หากผู้ใดพบเห็น หรือทราบแหล่ง/สถานที่หลบซ่อนของผู้กระทำผิดข้างต้นให้รีบแจ้งพนักงานสอบสวนหรือผู้รับผิดชอบ เพื่อจัดการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ประกาศ ณ วันที่ 14 สิงหาคม 2551 นอกจากนี้ สตช. เตรียมประสานไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินการขอให้ทางการอังกฤษส่งตัวทั้งคู่กลับมาดำเนินคดีในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน

วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทักษิณ ไม่ลี้ภัยกลับ 10 สิงหา


ส่วนกรณีที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เตรียมลี้ภัยทางการเมืองนั้น นาย อริสมันต์ พงษ์เรืองรอง อดีต ส.ส. กทม. ในฐานะคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะเดินทางกลับประเทศไทยแน่นอน ภายหลังไปร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐ ประชาชนจีน โดยจองตั๋วเครื่องบินเที่ยวบิน ทีจี615 ออกจากกรุงปักกิ่ง ในเวลา 17.00 น. วันที่ 10 สิงหาคม ถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ประเทศไทย เวลา 21.40 น. วันเดียวกัน โดย พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับมาพร้อมคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา กำหนดการเดินทางกลับครั้งนี้ เป็นไปตามกำหนดเดิมของ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะได้ยืนยันและตั้งใจกลับมาต่อสู้คดีต่างๆในประเทศไทย ไม่เคยคิดลี้ภัยตามกระแสข่าวที่ออกมาทั้งสิ้น ขอยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานจะกลับมาเมืองไทยจริงๆ ไม่ได้เป็นการปล่อยเพื่อกลบข่าว คาดว่าในวันที่ 10 สิงหาคม นี้ จะมีแกนนำพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชน รวมทั้ง ส.ส. และอดีต ส.ส.หลายคน เดินทางไปรอต้อนรับ พ.ต.ท.ทักษิณและภริยา ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ขอศาลฎีกาฯเดินทางไปต่างประเทศอีก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับภารกิจของ พ.ต.ท. ทักษิณ ภายหลังเดินทางกลับถึงเมืองไทย ในค่ำวันที่ 10 ส.ค. แล้ว พ.ต.ท.ทักษิณพร้อมด้วยคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา จะเดินทางไปรายงานตัวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาฯ ในวันที่ 11 สิงหาคม พร้อมกับจะทำเรื่องต่อศาลขออนุญาตเดินทางออกนอกประเทศอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่าต้องเดินทางไปดูแลสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่ประเทศอังกฤษ ที่จะมีการเปิดฤดูกาลในสัปดาห์หน้า จากนั้น ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ต.ท.ทักษิณในฐานะประธานมูลนิธิไทยคม จะเป็นประธานเปิดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "แม่ของแผ่นดิน" ที่ฮอลล์ ออฟ มิเรอร์ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน "สุทิน" ยอมรับ "น้องทักษิณ" มาเคลียร์ นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน กล่าวยอมรับว่า การประชุม ส.ส.กลุ่มเพื่อนเนวิน เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อมาปรับความเข้าใจกับ ส.ส.ในกลุ่มว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้อยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของใคร และบอกว่าใครที่ไปอ้างว่านายใหญ่ไม่พอใจหรือไม่ สบายใจใคร ก็ไม่เป็นความจริง นอกจากนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังบอกว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้คิดว่ามีใครหักหลัง และเข้าใจทุกคนเป็นอย่างดีและขอให้ทุกคนมีความสามัคคีกันเพื่อร่วมทำงานกันต่อไป "คุณยิ่งลักษณ์เข้ามาร่วมประชุมด้วย แต่ไม่ได้ เคลียร์เรื่องอะไรกัน เพราะเกรงว่า ส.ส. อีสานจะเข้าใจผิดว่ามีใครส่งสัญญาณให้ใครออกมาเคลื่อนไหว คุณยิ่งลักษณ์ เป็นตัวแทนพี่ชายคือ พ.ต.ท.ทักษิณ มาทำความเข้าใจกับพวกเรา คุณยิ่งลักษณ์ไม่ได้เข้าร่วมประชุมที่พรรคบ่อย แต่ครั้งนี้ต้องมาร่วมประชุม เพราะต้องการทำความเข้าใจกับพวกเราว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่อย่างใด นอกจากนี้ นายเนวินยังได้ยืนยันในที่ประชุมว่าไม่ได้คิดทรยศและหักหลังกับ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างแน่นอน" นายสุทินกล่าว "มั่น" ยอมรับเพื่อแผ่นดินก็มีปัญหา เช้าวันเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล นายมั่น พัธโนทัย รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่เดินทางเข้าทำงานที่ทำเนียบฯ เป็นวันแรก ได้ขึ้นไปสักการะท้าวมหาพรหมบนตึกไทยคู่ฟ้า และศาลพระภูมิประจำทำเนียบรัฐบาล เพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า ยอมรับว่าในพรรคเพื่อแผ่นดินมีปัญหาอยู่บ้าง แต่เมื่อประชุมกันแล้วทุกฝ่ายก็เกิดความเข้าใจ มั่นใจว่าจะยังมี ส.ส. 24 คนเหมือนเดิม ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมี ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน ไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายมั่น ตอบว่า โดยรัฐธรรมนูญแล้วยังไปไหนไม่ได้ตอนนี้ แต่ใครจะไปหรือไม่ขึ้นอยู่ที่ใจ เชื่อว่าทุกคนมีใจรักพรรคอยู่ เพราะร่วมกันทำงานมานานพอสมควร พูดได้เลยว่าพรรคเพื่อแผ่นดินไม่มีวันแตก เมื่อถามว่ามองว่าความขัดแย้งในพรรคพลังประชาชนจะกระทบเสถียรภาพรัฐบาลหรือไม่ นายมั่น ตอบว่า ไม่ขอพูดถึง เพราะเป็นเรื่องความขัดแย้งในพรรคพลังประชาชน แต่เชื่อในความสามารถของนายสมัคร และขอให้กำลังใจให้ทุกอย่างเรียบร้อย คิดว่าเป็นธรรมดาที่อาจจะมีความรู้สึกกันบ้างก่อนปรับ ครม. แต่หลังปรับ ครม.คิดว่าคลื่นลมจะสงบ ทั้งนี้ภายหลังที่นายสุวิทย์พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีไปแล้ว คงมีการประชุมรัฐมนตรีพรรคทุกวันจันทร์ และนายสุวิทย์จะยังคงเข้าร่วมประชุมพรรคอยู่เหมือนเดิม "สมศักดิ์" ปัดกลุ่มทุนตั้งพรรคใหม่ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รมว.เกษตรและสหกรณ์ และรองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกระแสข่าวที่มีกลุ่มนายทุนใหม่เข้ามารวบรวมพรรคเล็ก เพื่อตั้งพรรคการเมืองใหม่ว่า ข่าวอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมามีมาตลอดว่ากลุ่มทุนนั้นกลุ่มทุนนี้ จะเข้ามาทำงาน การเมือง แต่ในที่สุดก็เห็นไปไม่รอดสักราย เพราะงานการเมืองเป็นเรื่องละเอียดอ่อน หากเปรียบเป็นการทำธุรกิจ งานการเมืองไม่เหมือนกับการเปิดบริษัท และนักการเมืองก็ไม่ใช่พนักงานบริษัทที่ต้องทำตามคำสั่งของเจ้าของทุกอย่าง นักการเมืองมีความคิดเป็นเสรี และมักทำงานไม่สอดคล้องกับบริษัท เช่น กรณี ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ที่เข้ามาทำงาน การเมืองในพรรคระยะหนึ่ง แต่สุดท้ายก็สั่งท่านไม่ได้ ดังนั้นเรื่องนี้เข้าใจว่าเป็นเพียงข่าวปล่อยท่ามกลางสถานการณ์ ทางการเมืองในปัจจุบัน เชื่อ "นายกฯสมัคร" ไม่คิดยุบสภาหนี นายสมศักดิ์กล่าวว่า สำหรับในส่วนของพรรคชาติไทยยืนยันว่า เราเป็นสถาบันทางการเมืองไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่ใครจะมาทาบทามเพื่อให้ไปรวมกลุ่มแก๊งกันได้ง่ายๆ ยืนยันว่า เรายังคงความเป็นสถาบันทางการเมืองและทำงานทางการเมืองต่อไป และยังไม่ได้รับการทาบทามจากกลุ่มใดๆทั้งสิ้น เมื่อถามว่าขณะนี้มีการแฉเรื่องการทุจริตของแก๊งออฟโฟร์ ขณะที่ตัวนายสมัคร สุนทรเวช นายกฯและหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ก็มีคดีในชั้นศาลเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการยุบสภา นายสมศักดิ์ตอบว่า คิดว่าคนอย่างนายสมัครที่มีอายุกว่า 70 ปีแล้ว จะไม่ใช้วิธีการยุบสภาตามที่มีหลายฝ่ายวิเคราะห์และคาดเดา แต่คิดว่านายสมัครคงพยายามรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลให้ครบอยู่ 4 ปี เพื่อแสดงฝีมือท่ามกลางความดูแคลนของคนหลายกลุ่ม เพื่อให้รัฐบาลไปได้ตลอดรอดฝั่ง เมื่อถามต่อว่า แต่คนอย่างนายสมัครเป็นคนยอมหักแต่ไม่ยอมงอ นายสมศักดิ์ตอบว่า สำหรับตนเชื่อว่านายกฯ จะไม่ใช้วิธีการยุบสภาเป็นทางออกเพื่อแก้ปัญหา แต่จะใช้วิธีการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อให้รัฐบาลไปได้ตลอดรอดฝั่ง มัชฌิมาฯปัดเรื่องไกลตัวเป็นไปไม่ได้ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รมช.พาณิชย์ และรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า ในส่วนของพรรคมัชฌิมาฯยืนยันได้ว่ายังไม่เคยมีการหารือ หรือได้รับการติดต่อจากกลุ่มทุนใดๆ เข้าใจว่าคงเป็นการวิเคราะห์วิจารณ์ของสื่อมวลชนไปเอง เพราะเห็นว่าพรรคพลังประชาชนในขณะนี้ยังมีความขัดแย้งกันอยู่และเรื่องกลุ่มทุนที่จะเข้ามารวบรวมพรรคเล็กเพื่อตั้งพรรค การเมืองใหม่ ก็ยังเป็นเรื่องไกลตัว คงเป็นการฟังและลือกันมา สำหรับพรรคมัชฌิมาฯยืนยันว่ายังคงอยู่ร่วมรัฐบาล และทำหน้าที่ให้ดีที่สุดหลังจากการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ และเรื่องนี้ตนเพิ่งได้ทราบจากสื่อมวลชนเช่นกัน จึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้